Powered By Blogger

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

'โฉลก สัมพันธารักษ์' ลงทุนด้วย 'ระบบ' 'เสี่ยงต่ำ-รีเทิร์นสูง'




เปิดแนวคิดลงทุนด้วย “ระบบ” ที่บ่มเพาะมากว่าสามสิบปีบวกด้วยระบบบริหารเงินที่สร้างผลตอบแทนด้วย Leverage



ตอนที่แล้วเราได้รู้จักประวัติชีวิตของ โฉลก สัมพันธารักษ์ หรือ ลุงโฉลก นักเทรดคอมมอดิตี้ ฟิวเจอร์รายแรกๆ ของเมืองไทย แม้ลุงได้วางมือจากการเทรดไปแล้วเกือบ 20 ปี โดยนำวิชาความรู้ทางด้านเทคนิคัลที่หลายคนเชื่อว่าลุงเป็นมือวางอันดับต้นๆ นำศาสตร์และศิลป์จากประสบการณ์การเทรดอนุพันธ์และหุ้นมากกว่าสามสิบปีมาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า ขณะที่ชีวิตที่เหลือของลุงอุทิศให้กับการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา
สำหรับแนวคิดการลงทุนที่ลุงโฉลกยึดมั่นเป็นพิเศษและเป็นหัวใจสำคัญของคอร์สอบรมคือการประยุกต์ใช้แนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ลุงบอกว่าคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงคือเศรษฐกิจแบบยากจน ที่จริงแล้วความพอเพียงคือความมั่งมี แต่คนเข้าใจผิดเยอะ พอเพียงไม่ได้แปลว่าต้อง "จน" ความจริงแปลว่า "ร่ำรวยในแบบที่พอดี" ไม่มากไม่น้อยเกินไป
นอกจากนี้ ลุงโฉลกยังทิ้งแง่คิดไว้ด้วยว่าการที่เราจะเป็น "ผู้ชนะในตลาดหุ้น" เราต้องมี "แต้มต่อ" มากกว่าคนอื่น ซึ่งคำว่าแต้มต่อคือ "การเทรดโดยใช้ระบบ" ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าโอกาสขาดทุนแทบไม่มี หลักการก็คือต้องสร้างผลตอบแทนในระดับ 20% ต่อปีจะต้องไม่มากไปกว่านี้เพราะจะเกิดความโลภจนเสียระบบ ระดับผลตอบแทน 20% ถือว่าอยู่ในระดับที่พอเพียงแล้ว นอกจากนี้ยังมีวิธีการใช้ Leverage มาขยายวอลุ่มให้สร้างผลตอบแทนมากขึ้นแต่ความเสี่ยงไม่เพิ่มขึ้น
สัปดาห์นี้ ลุงโฉลกจะเปิดเผยแนวคิดการลงทุนโดยใช้ระบบมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก ผสมผสานกับการบริหารเงินที่สร้างผลตอบแทนได้สูงโดยที่ความเสี่ยงไม่เพิ่มขึ้น หลักการนี้มีรากฐานสำคัญมาจากปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ลุงมีความเชื่อส่วนตัวว่าถ้าใครยึดถือแล้วจะ "รวย"
 “เรื่องประสบการณ์ลงทุนผมจำไม่ค่อยได้แล้วเพราะวางมือจากการเทรดมานานแล้ว ที่จริงผมลงทุนอย่างจริงจังเพียงแค่ 1-2 ปีเองด้วยซ้ำ”  ลุงโฉลกเล่า
เซียนผู้เฒ่า เล่าว่าสมัยเริ่มต้นก็เทรดแบบคนปกติทั่วไปพอรู้แค่ว่าการลงทุนมี “กำลัง” ของตัวเอง ไม่สามารถไปฝืนกำลังได้ แต่ยังไม่รู้จักกับคำว่า “พอเพียง” จนกระทั่งได้มีโอกาสเป็นข้ารับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องการทำสวนทำให้ซึมซับความหมายที่แท้จริงของคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงเริ่มวางแนวคิดการลงทุนในแบบของตัวเองขึ้นมา
“ต่อจากนั้นผมลงทุนโดยใช้ระบบที่สร้างขึ้นเพียงอย่างเดียวเพื่อไม่ให้ความโลภเข้ามาเกี่ยวข้อง พอถึงอายุ 30 ปีผมแทบจะหยุดลงทุนโดยสิ้นเชิงเพราะเงินที่ได้มามัน (มาก) พอแล้ว ผมรู้ว่าความสันโดษพอเพียงคือ "ทรัพย์อย่างยิ่ง" ต่อให้รวยแค่ไหนก็ใส่เสื้อผ้าได้ทีละตัว ขับรถได้ทีละคัน รองเท้าใส่ได้ครั้งละคู่ อาหารกินได้ครั้งละหนึ่งอิ่ม ไม่รู้ว่าจะรวยเยอะๆ ไปทำไม และหันมาใช้เวลาส่วนใหญ่เผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การลงทุนมาล่อ”
ระบบเทรดในแบบของลุงโฉลกเริ่มต้นจากความคิดที่ว่า จะต้องตั้งเป้ากำไรจากการลงทุนปีละไม่เกิน 20% มากกว่านั้นจะถือว่าเป็นการพนันไม่พอเพียง สำหรับวิธีการลงทุนจะเน้น “กระจายความเสี่ยง” เช่น อาจจะเลือกหุ้นเซคเตอร์ละ 2 ตัว หรือคัดมาจากกลุ่ม SET50 หรือจะเน้นพวกที่ "ปันผลสูง" โดยมีเป้าหมายทำกำไรปีละ 20% และ ปล่อยให้ผลตอบแทนทบต้นไปเรื่อยๆ วิธีการนี้อาจจะมีหุ้นบางตัวที่ขาดทุนบ้างแต่ส่วนใหญ่จะกำไร เมื่อเฉลี่ยออกมาแล้วก็ยังได้ตามเป้า
ลุงโฉลก บอกว่าไม่สามารถที่จะอธิบายเนื้อหาของระบบเทรดที่คิดขึ้นได้ภายในวันเดียวเพราะต้องเรียนรู้หมดทุกระบบซึ่งมีกว่า 100 แบบ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไป เช่น บางระบบเน้นเข้าเร็วออกเร็ว บางระบบซื้อขายหุ้นน้อยครั้งเน้นกำไรรอบใหญ่ สรุปว่าจะต้องมาเข้าเรียนเพื่อให้รู้จักตัวเองว่าเป็นนักลงทุนแบบไหน เมื่อเรียนรู้ระบบแล้ว ทางชมรมฯจะเก็บค่าสมาชิกรายปีซึ่งถูกกว่าข้อมูลจากเมืองนอกมาก ซึ่งจะทำการสรุปข้อมูลตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงเย็นหลังตลาดปิดแล้ว จากนั้นจะให้แนวทางการลงทุนเช่นแนวโน้มกราฟเทคนิคเส้นแนวรับแนวต้านผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปเหมือนเป็นตัวกรองให้สมาชิกต้องนำไปตัดสินใจด้วยตัวเองอีกครั้ง
ที่มาของระบบมาจากหลายทฤษฎี ที่น่าสนใจคือ การนำคณิตศาสตร์ฟิโบนาชีมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีความมหัศจรรย์มาก สามารถพิสูจน์ได้ทุกอย่างแม้แต่การกำเนิดของจักรวาล การแตกหน่อของต้นไม้ และยังสามารถพิสูจน์แนวคิดการลงทุนแบบเน้นความพอเพียงได้ด้วย อย่างเช่น การขึ้นลงของหุ้นแต่ละครั้งมักจะไปทดสอบที่ระดับ 61.8% เสมอ ซึ่งถือเป็นเลขที่ใกล้เคียงค่าพาย เป็นตัวเลข Golden Triangle ของดาวินชี
พอประยุกต์มาใช้กับเรื่องของการลงทุนจะทำให้เรารู้ว่า "จุดอิมแพค" (แรงปะทะ) ของหุ้นอยู่ที่ตรงไหนทำให้เรารู้ว่าควรขายทำกำไรที่ราคาไหน และช่วยให้เราสามารถตั้งระดับความเสี่ยง Reward Ratio ว่ามีความคุ้มพอจะเสี่ยงหรือไม่ เช่น ถ้าคอนเซอร์เวทีฟก็ตั้งไว้ที่ระดับ 1 ใน 3 ถ้าเสี่ยงมากขึ้นก็ 1 ต่อ 2 แต่ถ้า 1 ต่อ 1 มันเหมือนกับการปั่นหัวก้อย มันคือ "การพนัน"
“ถ้าใช้ทฤษฎีนี้มาจับจะสามารถคำนวณทิศทางและโอกาสการขึ้นลงของหุ้นได้ แม้แต่การคำนวณการเดินของหมากรุกที่มีความเป็นไปได้มหาศาลก็ยังคำนวณได้ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้เราว่าจะเสี่ยงเพิ่มหรือควบคุมความเสี่ยง ผมสามารถพิสูจน์ได้แน่นอนว่าสามารถทำกำไรได้ 10% ต่อปี”
ระบบจะทำงานได้ดีจะต้องมีการกระจายความเสี่ยงของหุ้น ถ้าเล่นหุ้นเพียงแค่ตัวหรือสองตัวโอกาสที่จะขาดทุนมีสูง ถ้าใช้ระบบของเรากับหุ้น 100 ตัว อาจมีบางตัวขาดทุนเราไม่ต้องไปสนดูแค่ภาพรวมพอ อย่าไปให้ความสำคัญกับหุ้นเพียงตัวเดียวเหมือนนักลงทุนไทยส่วนใหญ่ อันนั้นคือ "การพนัน" ทุกสิ่งทุกอย่างมีกำลังของมันอยู่ ค่าเฉลี่ยย้อนหลังบอกแล้วว่าหุ้นไทยสร้างผลตอบแทนได้ปีละ 10% เท่านั้น ขนาดวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่เก่งที่สุดของโลกยังสร้างผลตอบแทนได้เต็มที่ปีละ 15.5% เท่านั้น ระบบที่ผมคิดก็มีกำลังในตัวสร้างผลตอบแทนได้ปีละ 10% ไม่เกินจากนี้ ถ้าจะมองมากกว่านี้คือ "ไม่พอเพียง"
การสร้างผลตอบแทนอีกแบบคือการลงทุนใน “ตราสารอนุพันธ์” ความพิเศษคือสามารถใช้ Leverage ในการสร้างผลตอบแทนได้สูง แต่ต้องระวังความโลภที่อาจจะเข้ามาจึงแนะนำให้ตั้งผลตอบแทนไม่เกิน 10% เช่นกัน
วิธีการบริหารเงินในแบบของลุงโฉลก คือ ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ 10% ของพอร์ตที่เหลือลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET50 เช่น สมมุติมีเงิน 10 ล้านบาท ให้นำเงิน 1 ล้านบาทมาเล่นโกลด์ฟิวเจอร์ 1 สัญญาซึ่งใช้เงินวางมาร์จิน 1 แสนบาท และสร้างผลตอบแทนให้ได้ 10% ส่วนที่เหลือ 9 ล้านบาท ให้ลงทุนในหุ้นโดยมีข้อแม้จะต้องคิดเสมอว่าเงินก้อนนั้นคือ "เงินสำรอง" เวลาที่ฉุกเฉินสัญญาฟิวเจอร์ถูก Call Margin จะมีเงินมาโปะได้ทันเวลา รวมสองก้อนได้ผลตอบแทน 20% ต่อปี อยู่ในระดับที่พอเพียง ถ้าเอาเงินไปลงฟิวเจอร์อย่างเดียวมันเสี่ยงเกินไป
ขณะเดียวกันเรามีโอกาสสร้างผลตอบแทนจากอนุพันธ์ได้มากกว่านั้นโดยที่ไม่มีความเสี่ยงเพิ่มเช่นเปิดเพิ่มอีก 1 สัญญา ถ้าสร้างผลตอบแทนได้ 10% ก็จะเพิ่มเป็น 20% ได้ในตัว แต่ขออย่าลงมากกว่านั้นเพราะจะทำให้ระบบที่สร้างขึ้นเสียไป ขอให้คิดว่ายังดีกว่าเอาเงินไปฝากธนาคารที่ให้ผลตอบแทนเพียง 1-2%
“บทสรุปคือการลงทุนโดยใช้เทคนิควิเคราะห์ไม่ใช่การพนันเพราะเราใช้ระบบช่วยคิด แต่การพนันไม่ใช้อะไรเลย ดวงอย่างเดียว”
ลุงโฉลก บอกว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยจะต้องเรียนรู้เรื่องการบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพ สาเหตุที่สิงคโปร์สามารถยึดประเทศเราได้เพราะมีกองทุนเทมาเส็กลงทุนหวัง 10% ทั่วโลก ดูไบก็มีกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ ส่วนของไทยตั้งไม่ได้เพราะมีคนจ้องจะโกงเงิน ทางออก คือ จะต้องกันคนออกไปและใช้ระบบลงทุน คนวางระบบกับคนทำงานต้องแยกออกจากกัน อย่างวิกฤติปี 2540 เราเสียหายเพราะเรื่องบริหารอัตราแลกเปลี่ยนใช้คนเข้ามายุ่งเกี่ยวมากเกินไป ที่จริงเราไปซื้อ Long Position หรือออปชั่นค่าเงินก็ได้ จ่ายแค่ค่าพรีเมียม ไม่จำเป็นต้องซื้อฟอร์เวิร์ดซึ่งต้องใช้เงินมากกว่าก็ได้
สำหรับเป้าหมายต่อไปของชีวิต ลุงโฉลก บอกว่า อยากเผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้รับรู้ในวงกว้างมากที่สุด โดยเฉพาะการนำมาใช้ในภาคการเกษตร ถ้าชาวนาชาวไร่สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินอย่างออปชั่นก็ไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบเพราะรู้กำไรก่อนที่จะไถหว่านแล้ว รัฐบาลก็สามารถค้ำประกันให้ธนาคารปล่อยกู้ได้ด้วย ทุกวันนี้เกษตรกรทั่วโลกเปิดบัญชีที่ Chicago board of Trade ทั้งนั้น ปริมาณเงินหมุนเวียนต่อวันที่นั่นมากกว่างบประมาณของสหรัฐอเมริกาทั้งปีเสียอีก เกษตรกรเมืองนอกเขาถึงรวยกัน ถ้าเกษตรกรเข้าใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอาจจะตั้งเป้ากำไรที่ 20% แล้วไปซื้อ Put Option เอาไว้ ถ้าราคาขึ้นก็ยกเลิกออปชั่นได้แล้วไปขายใหม่ที่ราคาสูงกว่า
สำหรับนักลงทุน ลุงโฉลก ฝากไว้อยากให้รู้จักกับระบบเทรดให้ดีแล้วลงทุนโดยตัดอารมณ์ความรู้สึกออกไป ไม่มีระบบไหนที่ดีที่สุดมีแต่ระบบที่เหมาะสมกับแต่ละคน เราไม่จำเป็นต้องเล่นได้ทีละเยอะๆ อาจจะได้น้อยๆ แต่ได้ตลอดเวลาดีกว่า ตัวอย่างเช่นเวลาเล่นกาสิโน เมืองนอกจะมีกฎหมายว่าห้ามกินตังค์ผู้เล่นในอัตราความน่าจะเป็นที่ 94% ที่เหลือ 6% เปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้ตังค์บ้าง เพราะถ้ากินฝ่ายเดียวอีกหน่อยจะไม่มีใครมาเล่น ถ้าโลภมากเกินไปก็จะไม่ยั่งยืนเช่นกัน
 “ผมใช้เวลา 6 ปีหลังมานี้ทุ่มเทให้กับการสอน ไม่เน้นหาเงิน ไม่เที่ยวเมืองนอก แต่ผมมีความสุขเพราะเห็นลูกศิษย์หลายคนประสบความสำเร็จ” แค่นี้ลุงก็มีความสุขแล้ว!!!

บทความคุณลุงโฉลก (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์:ถนนนักลงทุน)

' โฉลก สัมพันธารักษ์' นักเทคนิคคัลที่ 'เซียน' เรียก 'อาจารย์'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ถนนนักลงทุน วันที่ 24 มกราคม 2555

รูปภาพ

เปิดตัวเซียนเหนือ เซียน 'โฉลก สัมพันธารักษ์' นักเทรดคอมมอดิตี้ ฟิวเจอร์ รายแรกๆ ของเมืองไทย ผู้สร้างความมั่งคั่งด้วย 'เทคนิคัล' ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่เคยเปิดตัวออกหน้าสื่อหรือโฆษณาครึกโครม แต่เว็บไซต์โฉลกดอทคอม (Chaloke.com) ก่อตั้งโดยกลุ่มลูกศิษย์ โฉลก สัมพันธารักษ์ หรือ ลุงโฉลก ได้ถูกนำไปบอกต่อกันบนโลกออนไลน์แบบเงียบๆ ถึงหลักสูตรการลงทุนที่เข้มข้นและยาวนานต่อเนื่องกว่า 8 เดือนต่อหนึ่งคอร์ส ที่แม้แต่บรรดาโบรกเกอร์บางแห่งต้องส่ง "เจ้าหน้าที่การตลาด" มาฝากตัวเป็น "ศิษย์" กับท่านอาจารย์

ว่ากันว่ามีผู้จบหลักสูตรจากที่นี้แล้วนับหมื่นราย รวมถึง "หยง" ธำรงชัย เอกอมรวงศ์ เซียนเทรดคอมมอดิตี้ ฟิวเจอร์ ซึ่งบ่มเพาะวิชาเทคนิคและการวิเคราะห์จิตวิทยามวลชนมาจากลุงโฉลก จนพัฒนาตัวเองไปสู่วิทยากรสอนด้านการใช้เครื่องมือทางเทคนิคที่กำลังมาแรงใน ตอนนี้

ประวัติชีวิตของเซียนเหนือเซียนท่านนี้ยังไม่เคยถูกนำออกมาเผยแพร่ที่ ไหนมาก่อน เหตุผลหนึ่งลุงโฉลกได้ “วางมือ” (ล้างมือในอ่างทองคำ) จากการเทรดไปแล้วเกือบ 20 ปี โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ที่เหลือในชีวิตหมดไปกับการทำบุญทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ผ่านมูลนิธิโฉลก แม้เจ้าตัวจะไม่เคยพูดถึงมูลค่าทรัพย์สินส่วนตัวให้ใครฟังมากนัก แต่ที่ได้ยินจากคนใกล้ชิดลุงโฉลกน่าจะรวยระดับ "เศรษฐีพันล้าน"

ทีมข่าว "ถนนนักลงทุน" กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีนัดกับลุงโฉลก ชายแก่ผมขาว ณ สถานที่อบรมของชมรมฯท่ามลูกศิษย์กว่า 300 คน แทบจะเรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ลุงให้สัมภาษณ์กับสื่อ วินาทีแรกที่เห็นแทบไม่น่าเชื่อว่านี่คือบุคคลระดับเศรษฐีคนหนึ่งเพราะลุง เดินมาทักทายด้วยเสื้อเชิร์ตสีขาวธรรมดาไม่มียี่ห้อ ปราศจากเครื่องประดับตกแต่งใดๆบนร่างกาย แต่ระหว่างการสนทนาทีมงานเห็นลุงฉีกยิ้มด้วยความสุขทุกครั้งที่ได้เล่าแนว คิดการลงทุนที่บ่มเพาะมานานกว่า "สามสิบปี"

“ผมไม่เคยทำงานประจำ ไม่ชอบมีนายและไม่เคยเรียกใครว่านาย” ลุงเริ่มพูดถึงตัวเองให้ฟัง

เซียนผู้เฒ่า เล่าว่าตั้งแต่จบการศึกษาปริญญาตรีสถาปัตย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว (ลองเดาอายุได้) ก็ตัดสินใจเดินทางไปทำงานกับพ่อที่ประเทศอังกฤษพร้อมกับเรียนต่อปริญญาโท ด้านสถาปัตย์ต่อ งานที่ทำคือไปช่วยเปิดออฟฟิศที่ลอนดอน พอดีในตอนนั้นพ่อมีเพื่อนเป็นชาวญี่ปุ่นซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขาย ล่วงหน้าในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งมีเครือข่ายอย่างเช่น ธนาคารมิตซุยโฮ สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ลุงโฉลกได้เสนอตัวเป็นลูกศิษย์ขอเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ทำให้เขาเป็นคนไทยกลุ่มแรกๆ ที่รู้จักกับการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า

“เมืองไทยตอนนั้นไม่รู้จักว่าอนุพันธ์คืออะไร เราซื้อขายที่ราคาสปอตหมด แต่สินค้าบางอย่างมันซื้อขายสปอตไม่ได้ เช่น พวกข้าว ยาง เพราะต้องใช้เวลาขนส่ง ถ้าเราไปใช้ราคาสปอตผู้ซื้อได้เปรียบเพราะราคาอาจจะสูงขึ้นก็ได้ ทำให้ผมตัดสินใจเรียนรู้เรื่องของฟิวเจอร์อย่างจริงจัง พอจบปริญญาโทก็ต่อปริญญาเอกทันทีแต่ตัดสินใจเลิกเรียนหันมาลงทุนดีกว่าถ้า เราเข้าใจมันอย่างดีก็พออยู่ได้”

สาเหตุที่ไปเปิดออฟฟิศซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์ที่ลอนดอนเพราะอยู่ตรงกลาง ของโลก เวลาห่างจากประเทศไทย 6 ชั่วโมงและห่างจากนิวยอร์ค 6 ชั่วโมงสามารถเทรดเชื่อมกันได้ สิ่งที่ได้เรียนรู้มากที่สุดตอนอยู่ที่อังกฤษคือการใช้กราฟแท่งเทียน (Candle stick) ซึ่งญี่ปุ่นเป็นคนคิดค้นขึ้นตั้งแต่หลายร้อยปีก่อน (คิดค้นขึ้นราว ค.ศ.1750 โดยพ่อค้าข้าวชื่อ โชกิว ฮอนม่า)

หลังจากนั้น ลุงโฉลกเดินทางกลับมาประเทศไทยถือเป็นนักลงทุนกลุ่มแรกของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย แต่เขาใช้เวลาไปกับการเทรดคอมมอดิตี้ ฟิวเจอร์ซึ่งเปิดบัญชีไว้ที่อังกฤษ สังเวียนการต่อสู้ของลุงคือพวกเฮดจ์ฟันด์ (เสือหิว) ระดับโลกหากินอยู่ที่ Chicago Board of Trade และตลาดนิวยอร์ค สินค้าที่เทรดมีตั้งแต่พวกซอฟท์คอมมอดิตี้อย่าง ข้าว ถั่วเหลือง โกโก้ กาแฟ เนื้อหมู เนื้อวัว น้ำตาล ข้าวโพด กลุ่มโลหะมีค่าเช่น ทองคำ พาราเดียม แพลตินัม จนถึงสินค้าทางการเงินอย่างเช่น ดอกเบี้ย พันธบัตรรัฐบาล ต่อมาก็เริ่มมีดัชนีตลาดหุ้นล่วงหน้าแต่ละประเทศให้เทรด เช่น ดาวโจนส์

“สินค้าในตลาดล่วงหน้าที่เรามีอยู่ตอนนี้ผมเคยเทรดในต่างประเทศมาหมด แล้ว อย่างทองคำผมเล่นในตลาดโคเม็กซ์มาก่อน ซิลเวอร์ก็เคยเล่น ยางพาราก็ด้วย เสียดายที่ตอนนี้สัญญาซื้อขายต่อวันยังน้อยไปหน่อยทำให้ไม่คิดที่จะเข้ามาลง ทุน แต่หลายปีก่อนผมแนะนำลูกศิษย์ให้ไปเทรดดัชนีหุ้นล่วงหน้าในกลุ่มประเทศ BRICS (บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, แอฟริกาใต้) ต่างได้ผลตอบแทนที่ดีมากกลับมา”

นักเทคนิคมือฉมังผู้ล้างมือจากยุทธจักร บอกว่า เสียดายที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องของสัญญาล่วงหน้าเลยทั้งที่ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย ยังดีที่บางอุตสาหกรรมรู้จักการใช้ฟิวเจอร์แล้ว เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาล ที่มีความสำคัญเพราะเวลาที่ตกลงซื้อขายสินค้ากันพอถึงเวลารับเงินราคามันไม่ เท่าเดิมแล้วเพราะค่าเงินเปลี่ยนไป สมัยก่อนคนไทยไม่เคยคิดตอนที่ดอลลาร์ต่อบาทยังอยู่ที่ 20 บาท เวลาซื้อขายระหว่างประเทศจำนวนไม่มากจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง แต่พอเงินมากขึ้นมันเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน พวกดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ถึงมีความสำคัญมากต่อนักธุรกิจ

หลังจากลงทุนในประเทศไทยได้ระยะหนึ่ง ลุงโฉลกสังเกตุว่าคนไทยยังเล่นหุ้นเหมือนกับ "เล่นพนัน” จึงอยากจะให้ความรู้กับนักลงทุนโดยเฉพาะการใช้เครื่องมือทางเทคนิค แต่ติดอุปสรรคที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตอนนั้นไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ เข้าถึงข้อมูลเพื่อมาทำชาร์ตราคาย้อนหลัง จนกระทั่งเริ่มเข้าไปให้ข้อมูลนักลงทุนในเว็บไซต์ SET50.Com เมื่อสิบกว่าปีก่อน พอมีคนสงสัยโพสต์ถามไว้ในเว็บบอร์ดก็เข้าไปตอบ เริ่มมีคนสนใจการใช้เทคนิคมากขึ้น จนสมาชิกกลุ่มหนึ่งมาช่วยให้ตั้งเว็บบอร์ดของตัวเอง จนเป็นที่มาของเว็บไซต์โฉลกดอทคอมในตอนนี้

เนื้อหาที่สอนส่วนใหญ่เป็นการใช้เครื่องมือทางเทคนิคมาวิเคราะห์การลง ทุน รวมถึงแนวคิดด้านการลงทุนซึ่งกลั่นมาจากประสบการณ์ คอร์สหนึ่งจะใช้เวลาในการเรียน 8 เดือนเพราะเนื้อหาเยอะมากและต้องมีการสอบวัดผลด้วย ถึงตอนนี้มีผู้ที่ผ่านการอบรมไปแล้วนับหมื่นคน หลายคนจบออกไปก็ประสบความสำเร็จและกลับมาเป็นวิทยากรให้ชมรม แต่ยังน่าเสียดายที่คนไทยยังเล่นหุ้นเหมือนการพนัน ส่วนหนึ่งเพราะไม่รู้จักกับคำว่า “พอเพียง” เน้นแต่จะเอากำไรเยอะๆ พอเริ่มมีกำไรก็เกิดความโลภ ความเสี่ยงเลยสูงตามเป้าหมาย

บางครั้งชมรมก็จะมีคอร์สอบรมพิเศษ เช่น กลุ่มร้านทองมารวมตัวกันเพื่อเรียนรู้การใช้ Option ในการซื้อทองคำเข้ามาเก็บในสต็อก ถ้าไม่ใช่เครื่องมือการเงินมาช่วยถ้าซื้อทองมาแล้วราคาลงก็ต้องขายออกไปเลย และเอากำไรแค่ค่ากำเหน็จ แต่ถ้าใช้วิธีไปซื้อ Put Option เพื่อตัดความเสี่ยงประกันราคาที่อาจจะตก แต่ถ้าราคามันขึ้นก็ยกเลิกออปชั่นแล้วไปขาย Call option เพื่อทำกำไรได้อีก แบบนี้มีแต่กำไรอย่างเดียวไม่มีจน ตอนนี้ชมรมของเรากำลังจะมีสำนักงานของตัวเองแถวถนนสุรวงศ์ซึ่งจะมีห้อง ประชุมให้สมาชิกได้พบปะกัน กิจกรรมที่เราทำร่วมกันบ่อยๆคือรวมเงินไปซ่อมแซมวัด สร้างเมรุ สร้างโรงเรียน

สำหรับแนวคิดการลงทุนที่ลุงโฉลกยึดมั่นเป็นพิเศษและ เป็นหัวใจสำคัญของคอร์สอบรมคือการประยุกต์ใช้แนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง ลุงเสริมว่าคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงคือเศรษฐกิจแบบ ยากจนต้องทำนา ขุดบ่อ ซึ่งจริงแล้วไม่ใช่เลย

“จริงแล้วความพอเพียงคือความมั่งมี แต่คนเข้าใจผิดเยอะ พอเพียงไม่ได้แปลว่าต้องจน ความจริงแปลว่าร่ำรวยในแบบที่พอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป”

จากที่ได้พูดคุยกับลูกศิษย์ที่ทำงานโบรกเกอร์ต่างบอกว่านักลงทุน 90% มักจะขาดทุนซึ่งน่าเสียดายมาก การที่เราจะเป็นผู้ชนะในตลาดหุ้นเราต้องมีแต้มต่อ (EDGE) มากกว่าคนอื่น ถ้าในชมรมของเราคำว่าแต้มต่อคือการเทรดโดยใช้ “ระบบ” ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าโอกาสขาดทุนแทบไม่มี หลักการก็คือต้องสร้างผลตอบแทนในระดับ 20% ต่อปีจะต้องไม่มากไปกว่านี้เพราะจะเกิดความโลภจนเสียระบบ ระดับผลตอบแทนดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับที่พอเพียงแล้ว นอกจากนี้ยังมีวิธีการใช้ Leverage มาขยายวอลุ่มให้สร้างผลตอบแทนมากขึ้นแต่ความเสี่ยงไม่เพิ่มขึ้น
ตอนหน้าลุงโฉลกจะเจาะลึกแนวคิดการลงทุนโดยใช้ระบบเทรดและการบริหารเงิน อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งผ่านการบ่มเพาะมานานกว่าสามสิบปี ผสมผสานกับการลงทุนโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง...ห้ามพลาดเด็ดขาด!!!

---------------------------------------------------
ใช้ Option สร้างความมั่งคั่ง 'สินค้าเกษตร'
-----------------------------------------------
โฉลก สัมพันธารักษ์ กล่าวว่า เพื่อพิสูจน์ให้เห็นการใช้เครื่องมือทางการเงินอย่าง Option สามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับเกษตรกรได้จริงจึงตัดสินใจรวบรวมเงินก้อน หนึ่งไปซื้อที่ดิน 1,000 ไร่ ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เพื่อทำไร่มันสำปะหลังและข้าวโพดและว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรมาควบ คุมการเพาะปลูก มีการใช้เทคนิคสมัยใหม่เช่นรถแทรคเตอร์ ระบบจีพีเอส ผลิตเอมไซน์เพิ่มผลผลิตเอง เทคนิคการปรับหน้าดิน ปลูกบ่อ ทำให้สามารถสร้างผลผลิตได้มากกว่าคนอื่นสามเท่า โดยชมรมเป็นผู้ใช้เครื่องมือการเงินช่วย Fix ราคาพืชผล โดยใช้เทคนิคอย่าง Option

เมื่อเก็บเกี่ยวจนได้ราคาที่พอใจ ก็จะไปซื้อ Put Option เพื่อประกันราคาไม่ให้ตกแต่ถ้าราคาขึ้นเราก็จะยกเลิกเพื่อไปขายที่แพงกว่า สมมุติว่าราคามันสำปะหลังอยู่ที่ 100 บาท เราขอกำไรที่พอเพียงคือ 20% ซึ่งในโลกนี้จะหาอะไรที่ทำกำไรได้ขนาดนี้น้อยมาก แค่นี้ก็สามารถล็อกผลกำไรที่พอใจได้แล้วโดยจ่ายเพียงแค่ค่าพรีเมี่ยมเท่า นั้น แบบนี้ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ยกเว้นทุจริตกันเอง

เนื่องจากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าประเทศไทยยังไม่มีการใช้ Option จึงต้องไปเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์คือ Financial Global ซึ่งเป็นนายหน้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกแต่ตอนนี้ติดปัญหาล้มละลายเงินของเราเลย ไปจมอยู่บางส่วนยังดีที่ได้มีการกระจายไปยังโบรกเกอร์ที่สิงคโปร์บ้าง
ที่ดินผืนนั้นเปิดโอกาสให้สมาชิกชมรมได้ร่วมหุ้นด้วยเพื่อเพิ่ม Economy of Scale ในขณะที่ต้นทุนดำเนินการเท่าเดิมเมื่อพื้นที่มากขึ้นกำไรเราก็มากขึ้น เมื่อได้กำไรมาก็จะไปซื้อที่ดินรอบๆเพิ่มจนปัจจุบันที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น 2,000ไร่แล้ว นอกจากนี้ยังได้กำไร Capital Gain จากราคาที่ดินซึ่งเพิ่มขึ้นจากไร่ละ 25,000 บาท ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 60,000 บาทแล้ว ได้กำไรมหาศาล

“เสียดายที่รัฐบาลไม่เคยรู้เรื่องนี้แค่จะขอกำหนดราคา Option กับต่างประเทศก็ทำไม่สะดวก ถ้ามีเราสามารถทำให้ราคาข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าว ยางพารา เนื้อสัตว์ สามารถขายได้ราคาดีเกษตรกรจะไม่จน ผมอยากให้ชาติและคนไทยได้มีความมั่งคั่งด้วยเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการสอนผ่าน การลงทุนในตลาดหุ้น ลูกศิษย์ผมที่เก่งๆ น่าจะมีหลักพันคนจากที่เปิดสอนมา 6 ปี ตอนนี้ผมพิสูจน์แล้วว่าแนวคิดนี้ทำกำไรได้แน่นอนไม่เพ้อฝัน”

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นิสัยเซียน : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (บทความแนะนำ เหมาะกับตลาดช่วงนี้ครับ)

นิสัยเซียน

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


เซียนหุ้นชั้นนำของโลกแต่ละคนมักมีคุณลักษณะที่แตก

ต่างกัน แต่ละคนมักมีเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ศึกษาดูจะพบว่าเซียนเหล่านั้นมักมีนิสัย

เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันในหลายๆเรื่อง และต่อไปนี้คือนิสัยที่ผมคิดว่าเราควรศึกษา

และประยุกต์ใช้ ถ้าเราอยากจะเป็น “เซียน” บ้าง


เรื่องแรกก็คือ เซียนตัวจริงนั้น

เวลาลงทุน เรื่องที่คิดมากที่สุดกลับไม่ใช่ว่าจะทำกำไรได้มหาศาลแค่ไหน แต่เป็นว่า จะ

รักษาเงินต้นเอาไว้ได้อย่างไร และนี่ก็คือกฎข้อหนึ่งและข้อสองของ

วอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งบอกว่า หลักการลงทุนที่สำคัญที่สุดก็คือ

อย่าขาดทุน และอย่าขาดทุน


เรื่องที่สองก็คือ การลงทุนนั้น

เซียนแต่ละคนจะมีหลักปรัชญา หลักการ และวิธีการลงทุนที่ชัดเจนเป็นแบบฉบับของตนเอง

ไม่มีการมั่วหรือเป็น “มวยวัด” สิ่งต่างๆเหล่านั้นถูกพัฒนาและทดสอบมา

เป็นอย่างดีเป็นเวลายาวนาน และจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลับไปกลับมา

เรื่องที่สามก็คือ เซียนหุ้นนั้น

ไม่ชอบความเสี่ยงแต่ชอบความแน่นอน และความ “ได้เปรียบ” เวลาจะลงทุนอะไรมัก

จะคิดถึงโอกาสชนะว่ามีสูงกว่าโอกาสที่จะแพ้มากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสชนะมากกว่าแพ้

เพียงเล็กน้อย เขามักจะ “ไม่เล่น” เพราะฉะนั้น เราจะไม่เห็นคนเหล่านี้เล่นรูเล็ตหรือ

เข้าคาสิโนเพื่อการพนันซึ่งโอกาสชนะมี แค่ 30-40% ขณะที่โอกาสแพ้อยู่ที่ 60-70% แต่

การลงทุนที่โอกาสชนะสูงมากๆนั้นมีไม่มาก ดังนั้นเซียน

จึงมักไม่เล่นหรือลงทุนบ่อยนัก


เรื่องที่สี่ก็คือ เซียนนั้นลงทุน

ในสิ่งที่ตนเองรู้จักดี มีการวิเคราะห์และคิดเอง ไม่เชื่อคนอื่นโดยไม่ได้พิจารณาด้วยตน

เองอย่างลึกซึ้ง ในทางตรงกันข้าม เซียนจะไม่ลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่เข้าใจ หรือการลงทุน

นั้นไม่เข้าเงื่อนไขที่ตนเองกำหนด หรือตนเองไม่สบายใจที่จะลง ตัวอย่างเช่นหุ้นที่มีค่า PE

และ/หรือ PB สูงเกินไป หุ้นที่ผู้บริหารไม่น่าไว้วางใจ เป็นต้น แม้ว่าหุ้นเหล่านั้นอาจจะ

ทำกำไรให้ได้ง่ายและเร็วในบางสถานการณ์

นิสัยที่ห้าก็คือ เซียนส่วนใหญ่

จะไม่ “กระจายความเสี่ยง” โดยการกระจายการถือหุ้นมากเกินไป

เซียนมักจะมีหุ้นหลักตัวใหญ่ๆในพอร์ตซึ่งเป็นตัวที่จะกำหนดผลงานหรือความเป็นความ

ตายในการลงทุนเพียงไม่กี่ตัว แม้ว่าเขาจะมีหุ้นย่อยๆเป็น 10 หรือ 100 และแม้แต่ 1,000

ตัว อย่างพอร์ตของ ปีเตอร์ ลินช์ หุ้นตัวหลักๆเหล่านั้นก็คือหุ้น

ที่สร้างความแตกต่างและทำให้เซียนเป็นเซียนขึ้นมาได้


ข้อสรุปในเรื่องนี้ก็คือ การเป็นเซียนนั้น คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกหุ้นถูกทุกตัวหรือแม้จะ

เป็นส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ข้อสำคัญก็คือ ในหุ้น 10 ตัว คุณ

อาจจะเลือกถูกเพียง 3 ตัว แต่ถ้าหุ้น 3 ตัวนั้นเป็นหุ้นที่ทำกำไรมหาศาลก็เพียงพอแล้ว

สำหรับผลงานที่ดีเยี่ยม


นิสัยที่หกก็คือ เซียน

หุ้นตัวจริงนั้นมี “EQ” ของการลงทุนสูง ไม่ใคร่หวั่นไหวกับภาวะตลาดผันผวนหรือ

ข่าวต่างๆ ที่อาจจะดูรุนแรงแต่ผลกระทบจริงต่อการลงทุนมีน้อย
นิสัยในกลุ่มนี้ที่ผม

เห็นว่ามีความสำคัญก็คือ เซียนหุ้นนั้นมักใจเย็น สามารถอดทนรอได้อย่าง “ไม่มี

เวลาจำกัด”
ถ้ายังไม่เห็นโอกาส ขณะเดียวกัน ถ้าเห็นโอกาส “ลอยมา

ตรงหน้า”
เซียนหุ้นสามารถตัดสินใจ และลงมือได้

ทันทีไม่มีการผัดวันประกันพรุ่ง หรือต้องไปศึกษาพินิจพิจารณายืดยาว ความรู้สึกของผม

ก็คือ เซียนหุ้นชั้นนำคงจะมีความคิดต่างๆอยู่ในใจที่พร้อมอยู่แล้ว เมื่อโอกาสเปิดก็คว้าได้

ทันที


พฤติกรรมที่เจ็ดของเซียนหุ้นก็คือยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว

ภาษาหุ้นและการลงทุนก็คือ สามารถ “Cut Loss”

ได้ทันทีเมื่อเห็นว่าหลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่ไม่เป็นไปตามที่คาด หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำ

ให้เหตุผลในการซื้อหมดไป พูดง่ายๆ เซียนหุ้นมักไม่ยอม “ติดหุ้น” อย่างนักลงทุน

ประเภท “แมงเม่า” ซึ่งไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดโดยการขายหุ้นที่ขาดทุนมาก

ทิ้งได้


ข้อแปดที่ผมเลือกมาก็คือ

เซียนหุ้นนั้น เวลาลงทุนแต่ละครั้งจะต้องมี “Story” หรือเรื่องราว หรือเหตุผลหลัก

ว่าทำไมจึงลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้น ซึ่งไม่ใช่เพราะคิดว่าราคาหุ้นจะขึ้น แต่จะต้อง

เป็นเรื่องอื่นๆที่เมื่อเกิดขึ้นจะส่งผลต่อราคาหุ้นในที่สุด เรื่องราวอาจเป็นได้ทั้งเรื่องระยะสั้น

หรือระยะยาว อาจเป็นได้ทั้งเรื่องของตัวธุรกิจเอง หรือเรื่องภายนอกที่จะส่งผลอย่างสำคัญ

ต่อตัวธุรกิจและราคาหลักทรัพย์ในที่สุด

นิสัยที่เก้าก็คือ เซียน

หุ้นนั้นมักจะเป็นคนบ้าหุ้น หายใจเข้าออกเป็นเรื่องของการลงทุน ทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่

ของตนมักจะอยู่ในหลักทรัพย์
การลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ แต่ไม่ใช่คนที่เฝ้ากระดานหุ้น

ติดตามราคาหุ้นทุกนาที เพราะเซียนหุ้นตัวจริงนั้นไม่จำเป็นและมักไม่สนใจการเคลื่อน

ไหวของราคาหุ้น ในระยะสั้น เซียนหุ้นชอบศึกษาและติดตามความเป็นไปของกิจการ

ภาวะแวดล้อม และประเด็นอื่นๆที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มากกว่า

สุดท้ายก็คือ นิสัยส่วนตัวของ

เซียนการลงทุน ที่ดูแล้วก็น่าแปลก ค่าที่ว่าเซียนหุ้นมักจะเป็นคนที่มีความมั่งคั่งมหาศาล

(ถ้าไม่มั่งคั่ง ใครจะเรียกว่าเป็นเซียน!) แต่ส่วนใหญ่แล้วกลับใช้ชีวิตธรรมดาแบบคนชั้น

กลางระดับสูงเล็กน้อย และไม่มีใครเลยที่ใช้ชีวิตความเป็นอยู่สูงกว่าระดับความมั่งคั่งของ

ตนเอง ทั้งที่ดูไปแล้ว เงินสำหรับเซียนนั้น หามาได้ง่ายและเร็ว แต่คนเหล่านั้นกลับไม่

ฟุ่มเฟือย ไม่ชอบใช้เงินในสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือใช้เงินไม่คุ้มค่า

นิสัยทั้ง 10 ข้อนี้ ไม่ได้หมายความว่าเซียนทุกคนต้องมี

เหมือนกันหมด เพียงแต่เป็นนิสัยที่เซียนหลายๆคนที่ผมศึกษามี และผมคิดว่านิสัยหลายๆ

ข้อมีส่วนสำคัญในการสร้างความสำเร็จในการลงทุนให้แก่เขา และผมเชื่อว่า ถ้า Value

Investor นำเอาไปใช้และทำให้เป็นนิสัย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการลง

ทุนคงจะมีสูงขึ้น


*************************

นิสัยเซียน

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โลกในมุมมองของ Value Investor

22 ตุลาคม 2547

ที่มา http://www.sarut-%3cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Ehomesite.net/2010/11/%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8B%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%94%E0%B8%A3-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%AB/%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E
ผมว่าจุดเริ่มต้นของคนเราเริ่มจาก"ทัศนคติ"จากสิ่งนั้นๆก่อน มันจึงจะเกิดแรงบรรดาลใจให้ไปถึงเป้าหมาย ถ้า"ทัศนคติ"คุณผิด มันก็จะผิดเกือบทั้งหมด

บางส่วนของ วอเรน บัฟเฟตต์ ที่ให้สัมภาษณ์CNBC


เลือกมาเป็นบางประเด็นนะครับ เพราะบางคำถามปู่บัฟเตต์ก็ตอบทีเล่นทีจริงแถมกำกวมอีก


เกี่ยวกับการเลือกตั้งในยูโรโซนและการที่หุ้นทั่วโลกตกลงรับข่าวดังกล่าว
"10หรือ20ปีที่แล้วยุโรปเป็นผู้ผลิตสินค้าคุณภาพ นี่ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุดของโลก"
"ผมไม่เคยบ่นเลยที่จะได้ซื้อหุ้นถูก"
"สัปดาห์ก่อนเบิร์กไชร์เพิ่งเป็นเจ้าของบริษัทหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ สถานการณ์ตอนนี้ไม่ทำให้ผมหยุดซื้อหุ้นที่มีคุณค่า"

เกี่ยวกับการลงทุนทองคำ
"ถ้าคุณซื้อทองหนึ่งออนซ์เมื่อร้อยปีที่แล้วมันก็ยังเป็นทองหนึ่งออนซ์ในตอนนี้ แต่ถ้าคุณเป็นเจ้าของฟาร์มคุณจะได้ผลิตผลจากมันและหนึ่งร้อยปีผ่านไปคุณก็ยังมีฟาร์มอยู่ แต่ถ้าคุณซื้อหุ้นในดาวนส์โจนส์คุณจะได้เงินปันผลตลอด100ปี"
เสริมให้ว่าปู่บัฟเฟตต์ไม่เคยสนใจลงทุนทองคำครับ

เกี่ยวกับที่ได้คุยกับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก
"จากที่ได้คุยกับซัคเคอร์เบิร์ก มัน(FB)เป็นธุรกิจที่พิเศษและยากที่จะตีค่าธุรกิจ"
"มีสิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่างบิลเกตต์กับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก พวกเขาไม่ได้ทำธุรกิจเพื่อหวังความร่ำรวย"
เหมือนเดิมคือปู่แกไม่ชอบหุ้นเทคโนโลยี

บัฟเฟตต์เล่าให้ฟังว่าสตีฟจ๊อปส์เคยโทรมาปรึกษาว่าจะทำอะไรกับเงินสดที่มีอยู่มากเหลือเกินในบริษัทแอปเปิล
เขาตอบว่า “ฟังดูเป็นไปไม่ได้ที่แอปเปิลจะไม่เคยซื้อกิจการใดๆในขณะที่มีเงิน1ล้านล้านเหรียญในมือ บางทีแอปเปิลอาจต้องจ่ายปันผลหรือซื้อหุ้นคืนบ้าง แต่ผมเดาว่าเขาอาจทำทั้งสองอย่าง”
(สุดท้ายแล้วทิม คุ๊กก็ได้ทำทั้งสองอย่างจริงๆ)

โค้ดคำพูดที่บัฟเฟตต์คุยกับผู้ถือหุ้น
"นักลงทุนรายย่อยอย่าไปให้ความสนใจกับข่าวรายวันมากนัก"
"ผมไม่เห็นทางที่จะทำเงินได้จากการซื้ิอขายหุ้นบ่อยๆ"

คำตอบยังสะท้อนตัวตนของปู่เหมือนเดิมครับ
มาเป็นแฟนเพจผมได้ที่ http://www.facebook.com/pages/TingLi-stock-talk/273369239409505

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ข้อคิด Jesse Laurston Livermore



REMINISCENCES OF A STOCK OPERATOR

It takes a man a long time to learn all the lessons of all his mistakes. They say there are twosides to everything. But there is only one side to the stock market; and it is not the bull side or the bear side, but the right side. It took me longer to get that general principle fixed firmly in my mind than it did most of the more technical phases of the game of stock speculation.

คนคนหนึ่งใช้เวลายาวนานในการที่จะเรียนรู้บทเรียนจากข้อผิดพลาดของตนเอง มีคำพูดที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีสองด้านเสมอ แต่ในตลาดหุ้น มีเพียงด้านเดียว และด้านเดียวนั้นไม่ใช่ด้านขาขึ้น หรือ ขาลง แต่เป็นด้านที่ถูกต้อง ฉันใช้เวลาในการที่จะรู้ซึ้งและจดจำถึงความนัยของคำพูดนี้ นานกว่าระยะเวลาที่ฉันใช้ในการเข้าใจหลักเกณฑ์ทางเทคนิคในการเก็งกำไรในตลาดหุ้น

All my life I have made mistakes,but in losing money I have gained experience and accumulated a lot of valuable don’ts. I have been flat broke several times, but my loss has never been a total loss. Otherwise, I wouldn’t be here now. I always knew I would have another chance and that I would not make the same mistake a second time. I believed in my self.

ชั่วชีวิตที่ผ่านมา ฉันผิดพลาดหลายอย่าง แต่ในความผิดพลาดที่ทำให้ฉันเสียเงินทองทรัพย์สิน ฉันได้รับประสบการณ์และได้สะสมบทเรียนที่มีค่าในเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง มีหลายครั้งหลายคราที่ฉันหมดตัว แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่ฉันสูญเสียไป ไม่เช่นนั้นฉันคงไม่สามารถมาอยู่ที่นี่ได้ ฉันรู้ตลอดเวลาว่าทุกอย่างมีโอกาสและทางเลือก และความผิดพลาดเช่นเดิมจะไม่เกิดขึ้นอีก และฉันเชื่อมั่นในตัวเอง

A man must believe in himself and his judgment if he expects to make a living at this game. That is why I don’t believe in tips.

สิ่งสำคัญในการที่จะอยู่รอดในตลาดหุ้นคือ ต้องเชื่อมั่นในตัวเองและในการตัดสินใจของตัวเอง
และนั่นคือเหตุผลที่ฉันไม่เชื่อในเคล็ดลับต่างๆ

Nobody can make a big money on what someone else tells him to do. I know from experience that nobody can give me a tip or a series of tips that will make more money for me than my own judgment. It took me five years to learn to play the game intelligently enough to make big money when I was right.

ไม่มีใครทำเงินได้จากการเชื่อคำพูดที่คนอื่นบอกให้ทำฉันเรียนรู้จากประสบการณ์ว่าไม่มีใครสามารถบอกเคล็ดลับที่ทำให้ฉันทำกำไรได้มากเท่ากับการตัดสินใจของตัวฉันเอง ฉันใช้เวลาถึง 5 ปีในการเรียนรู้ที่จะเล่นเกมนี้อย่างชาญฉลาดพอที่จะทำเงินได้จำนวนมากเมื่อฉันอยู่ในด้านที่ถูกต้อง

บทความตัดตอนจากหนังสือ “REMINISCENCES OF A STOCK OPERATOR”
โดย EDWIN LEFEVRE

17 คำสอนขององค์ดาไลลามะสำหรับมนุษย์งาน

1. คิดไว้เสมอว่า ‘หวังในความสำเร็จมาก ก็เสี่ยงที่จะสูญเสียมาก’

2. ยามใดที่แพ้ ให้นำสิ่งที่แพ้มาเป็นบทเรียน

3. กฎ 3 อาร์น่าคิด Respect for self คือเคารพตัวเอง, Respect for others เคารพผู้อื่น และ Responsibility คือรับผิดชอบในทุกๆ การกระทำของตน

4. บางครั้งการที่มาเอาตัวไปข้องเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากได้ใคร่มีมากเกินไป ก็อาจทำให้คุณได้ในสิ่งนั้นอย่างไม่น่าเชื่อ

5. เรียนรู้กฎให้ละเอียดถ่องแท้ เผื่อว่าคุณอาจหาทางแหกกฎได้อย่างถูกวิธี

6. อย่าให้ความขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ มาทำลายมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่

7. เมื่อใดที่รู้สึกว่าทำผิด ให้รีบแก้ไขให้ถูกต้อง

8. ใช้เวลาอยู่กับตัวเองในทุกๆ วัน

9. อ้าแขนให้กว้างเพื่อรับสิ่งท้าทายในชีวิต และเมื่อใดที่มีสิ่งล้ำค่าเข้ามา ก็อย่าปล่อยมันไป

10. จงจำไว้ว่าบางครั้ง ความเงียบก็เป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับบางเรื่อง

11. ใช้ชีวิตให้ดีอย่างคนมีเกียรติ เพราะเมื่อตอนเราแก่ตัวลง จะได้มองย้อนกลับไปในอดีตอย่างมีความสุข

12. บรรยากาศในบ้านแสนสุขเป็นพื้นฐานที่ดีของการดำรงชีวิต

13. เมื่อไม่เห็นด้วยกับคนที่เราแคร์ในบางเรื่อง ให้ทะเลาะกันได้เฉพาะในปัญหาปัจจุบัน อย่าขุดคุ้ยเรื่องอดีต

14. มีความรู้อะไรก็ให้รู้จักแบ่งปัน เพราะความรู้เป็นสิ่งที่ไม่มีวันตาย (ตัวตายแต่ชื่อยัง ถ้าสร้างชื่อเสียงในทางที่ดี)

15. รู้จักรักและเคารพโลก

16. ในแต่ละปี ให้เดินทางไปในที่ที่คุณยังไม่เคยไปมาก่อน

17. ประเมินความสำเร็จในสิ่งที่คุณไม่เคยทำสำเร็จ เพื่อจะได้มุ่งมั่นทำมันให้สำเร็จ

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

เรียนรู้ MBA ฉบับย่อกับ Steve Jobs (ตอนที่1)

Steve Jobs ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นอัจฉริยะเสมือน เอดิสัน แห่งโลกยุคใหม่ ด้วยผลงานต่างๆ มากมายที่สร้างให้ Apple กลายเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งมาถึงทุกวันนี้ ประจวบเหมาะกับเมื่อ 2 เดือนก่อน ได้มีโอกาสพบบทความ ที่ดีมากบทความหนึ่งจากนิตยสาร Wired Magazine (UK Edition) ว่าด้วยเรื่องของ Steve Jobs ว่าเขาสร้างสิ่งที่เป็นนวัตกรรม เหล่านี้ขึ้นมาได้อย่างไร ผู้อ่านจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการและแนวคิดของเขา เสมือนเป็น  MBA ฉบับย่อเลยทีเดียว
ภายในบทความนี้เป็นการรวบรวมบทวิเคราะห์ถึงความสามารถและกลยุทธ์ต่างๆ จากอดีตเพื่อนร่วมงาน, คู่ค้าของ Jobs นักออกแบบ และนักวิจารณ์ทั้งหลายว่ากลยุทธ์การชุบชีวิตของบริษัทที่มีสภาพใกล้ล้มละลายให้กลับมาฟื้นคืนใหม่แถมรุ่งเรืองชนิดที่ยากจะมีใครตามทันนั้น Jobs ทำได้อย่างไร ตัวอย่างของผู้มาวิเคราะห์ อาทิเช่น Guy Kawasaki, Tim Wu, Charles Dunstone, Alain DeBotton เป็นต้น
เพราะเห็นว่า “มันส์” ดีค่ะ เลยมีความตั้งใจว่าจะสรุปและเรียบเรียงมาให้เพื่อนๆ ใน thumbsup ได้อ่านกัน แต่เนื่องด้วยบทความนี้มีความยาวพอสมควร (14 บทเรียน และในบทกลางๆ มีข้อย่อยแตกออกมา) เลยตัดสินใจว่าจะแบ่งออกมาเป็นหลายตอน ยังไงก็อย่าลืมติดตามอ่านกันนะคะ^^
บทเรียนที่ 1 : Don’t Think About The Present   อย่ามองแค่ปัจจุบันเท่านั้น  
Alain De Botton เจ้าของ <theschooloflife.com>     และผู้แต่ง The Pleasure & Sorrow of Work
ความสำเร็จของบางกิจการได้มาจากการปรับปรุงของเก่าบางอย่างให้ดีขึ้น  แต่บางแห่งได้จากการรื้อของเดิมออกหมดด้วยการสร้างความต้องการใหม่ ๆ ของมนุษย์ที่เราไม่เคยนึกถึงมาก่อน ซึ่ง Apple ได้เป็นผู้นำในแบบหลังนี้
แม้สิ่งประดิษฐ์มากมายได้เกิดขึ้นมาช้านานแล้วหลายชั่วอายุคน  แต่เราคงไม่เคยนึกว่าหลายๆ เหตุการณ์ไม่น่าเกิดขึ้นได้ เช่น ความตกต่ำของยุโรปในเวลานี้เป็นต้น  แต่ก็ยังมีสิ่งใหม่ๆ อีกมากมายที่มนุษย์เรายังรอคอยอยากได้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถบอกเราว่าคนไหนจะเป็นคู่สมรสของเราในวันข้างหน้า หรือมีเครื่องสแกนเนอร์ที่สามารถบอกเราว่ากุญแจที่หายไปอยู่ที่ไหน หรือวิธีกำจัดแมลงภายในบ้านให้สิ้นซาก เป็นต้น การเติมเต็มความต้องการต่างๆ อันไม่มีที่สิ้นสุดเหล่านี้แหละจึงนำไปสู่ธุรกิจได้
นักธุรกิจหลายคนมักมองแต่ปัจจุบันเป็นหลัก ขาดการนึกเชิงมโนภาพและติดตรึงกับสิ่งเดิมๆ เสมอ การทำกำไรทางธุรกิจไม่ใช่ความโลภหรือการขโมย แต่มันเป็นรางวัลที่เราพึงได้จากความสามารถที่เรามีในด้านความนึกคิดว่าเป็นไปได้ก่อนคนอื่น
สิ่งที่ผู้แปลมองเห็นชัดๆ เลยนะคะ  นั่นคือแต่ก่อนใครจะนึกว่าโทรศัพท์มันจะมีเพียงแค่ปุ่มเดียวได้ และใช้หน้าจอสัมผัสบน iPhone เป็น Key Pad รวมถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยประสบการณ์ที่เหมือนเล่นผ่านคอมพิวเตอร์  ลืมไปได้เลยกับคำว่า WAP เป็นต้น  ล้วนแล้วมาจากการคิดนอกกรอบ, สร้างความต้องการใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน จนกลายเป็นมาตรฐานใหม่ให้กับภาคธุรกิจนี้จนคู่แข่งต้องทำตาม…
บทเรียนที่ 2 : People Pay More If It’s Worth It     ถ้าคุ้มค่าคนก็ยอมจ่าย
Richard Seymour <seymourpowell.com>  นักออกแบบสินค้า

เมื่อ Jonathan Ive เข้าร่วมงานกับ Jobs ในปี 1997   ก็เกิดปฏิกิริยาใน Apple ทันที 2 ประการคือ
1 คนหนึ่งรอบรู้พิถีพิถันสุดๆ ระดับเซียน  อีกคนเชื่อว่าตนสามารถเข้าใจและทำงานสนองความต้องการของอีกฝ่ายจนต้องยอมอุปการะตนให้เจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ทั้งสองคนจึงถือเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจดังที่ได้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้
2 เริ่มต้นจากสิ่งที่รักและนำกลับไปสู่ความสำเร็จด้านเทคโนโลยี สินค้าของ Apple ไม่ใช่เพียงสิ่งของที่ถูกผลิตขึ้นมาแบบทั่วๆ ไป แต่มันเกิดจากความใส่ใจและประกอบด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่มีให้กับสินค้านั้นๆ
บทเรียนที่ 3 : Connect Your People   เชื่อมโยงคนของคุณให้เข้าด้วยกัน
Jonah Lehrer   ผู้แต่งเรื่อง     The Search For A Cure For Stress
Jobs ซื้อกิจการ Pixar Animation Studios ปี 1986 ในราคา 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไม่ได้สนใจในเรื่อง Animation แต่อย่างไรเพียงแต่สนใจในเครื่อง Pixar Image Computer มูลค่า 135,000 เหรียญสหรัฐฯ ที่สามารถสร้างภาพ Graphic ซับซ้อนมากๆ อันเป็นเครื่องมือที่เขากับทีมงานสามารถสร้างงานเพื่อทำเงินจนสำเร็จในภาพยนตร์ดังๆ เช่น Up, Wall-E และ The Incredibles จน Walt Disney ต้องซื้อกิจการไปในราคา 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2006
ด้านสถาปัตยกรรมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างโรงถ่ายนี้เป็นศูนย์รวมของพนักงานทุกคน จากเดิมต้องการสร้างอาคารขนาดเล็กสามหลังแยกกันสำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์, นักสร้าง Animation และสำหรับนักบริหาร  แต่ Jobs ไม่เอา กลับให้สร้างเป็นหลังเดียว โดยมีโถงกว้างอยู่ตรงกลางให้พนักงานพบปะกัน  ย้ายตู้จดหมายมาไว้  ห้องประชุม  ตามด้วยร้านกาแฟ ร้านกิฟต์ช็อป รวมทั้งห้องน้ำด้วย  เพราะเขาเชื่อว่าการประชุมที่ดีที่สุดคือเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และเขาก็ถูกต้องจริงดังว่า เพราะพนักงานส่วนใหญ่บอกไอเดียเจ๋งๆ ของพวกเขาไม่ได้เกิดที่โต๊ะทำงาน  แต่ได้จากขณะกินธัญพืชสักชามกับเพื่อนร่วมงาน หรือคุยกันในห้องน้ำต่างหาก จึงยืนยันได้ว่า Jobs ได้ลงรายละเอียดในทุกๆ อย่างจริงๆ
ข้อนี้ผู้แปลอ่านแล้วทำให้นึกถึงประโยคที่ว่า การจะคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ขึ้นมาสักอย่าง หนึ่งใน resource ที่ดี คือการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกับคนสายวิชาชีพอื่นๆ เพราะจะเป็นการเติมเต็มส่วนที่ขาดของกันและกันได้ดีเลยทีเดียวค่ะ
แล้วอย่าลืมติดตามตอนที่ 2 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ ^^
ที่มา : Wired Magazine