Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

เรียนรู้ MBA ฉบับย่อกับ Steve Jobs (ตอนที่1)

Steve Jobs ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นอัจฉริยะเสมือน เอดิสัน แห่งโลกยุคใหม่ ด้วยผลงานต่างๆ มากมายที่สร้างให้ Apple กลายเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งมาถึงทุกวันนี้ ประจวบเหมาะกับเมื่อ 2 เดือนก่อน ได้มีโอกาสพบบทความ ที่ดีมากบทความหนึ่งจากนิตยสาร Wired Magazine (UK Edition) ว่าด้วยเรื่องของ Steve Jobs ว่าเขาสร้างสิ่งที่เป็นนวัตกรรม เหล่านี้ขึ้นมาได้อย่างไร ผู้อ่านจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการและแนวคิดของเขา เสมือนเป็น  MBA ฉบับย่อเลยทีเดียว
ภายในบทความนี้เป็นการรวบรวมบทวิเคราะห์ถึงความสามารถและกลยุทธ์ต่างๆ จากอดีตเพื่อนร่วมงาน, คู่ค้าของ Jobs นักออกแบบ และนักวิจารณ์ทั้งหลายว่ากลยุทธ์การชุบชีวิตของบริษัทที่มีสภาพใกล้ล้มละลายให้กลับมาฟื้นคืนใหม่แถมรุ่งเรืองชนิดที่ยากจะมีใครตามทันนั้น Jobs ทำได้อย่างไร ตัวอย่างของผู้มาวิเคราะห์ อาทิเช่น Guy Kawasaki, Tim Wu, Charles Dunstone, Alain DeBotton เป็นต้น
เพราะเห็นว่า “มันส์” ดีค่ะ เลยมีความตั้งใจว่าจะสรุปและเรียบเรียงมาให้เพื่อนๆ ใน thumbsup ได้อ่านกัน แต่เนื่องด้วยบทความนี้มีความยาวพอสมควร (14 บทเรียน และในบทกลางๆ มีข้อย่อยแตกออกมา) เลยตัดสินใจว่าจะแบ่งออกมาเป็นหลายตอน ยังไงก็อย่าลืมติดตามอ่านกันนะคะ^^
บทเรียนที่ 1 : Don’t Think About The Present   อย่ามองแค่ปัจจุบันเท่านั้น  
Alain De Botton เจ้าของ <theschooloflife.com>     และผู้แต่ง The Pleasure & Sorrow of Work
ความสำเร็จของบางกิจการได้มาจากการปรับปรุงของเก่าบางอย่างให้ดีขึ้น  แต่บางแห่งได้จากการรื้อของเดิมออกหมดด้วยการสร้างความต้องการใหม่ ๆ ของมนุษย์ที่เราไม่เคยนึกถึงมาก่อน ซึ่ง Apple ได้เป็นผู้นำในแบบหลังนี้
แม้สิ่งประดิษฐ์มากมายได้เกิดขึ้นมาช้านานแล้วหลายชั่วอายุคน  แต่เราคงไม่เคยนึกว่าหลายๆ เหตุการณ์ไม่น่าเกิดขึ้นได้ เช่น ความตกต่ำของยุโรปในเวลานี้เป็นต้น  แต่ก็ยังมีสิ่งใหม่ๆ อีกมากมายที่มนุษย์เรายังรอคอยอยากได้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถบอกเราว่าคนไหนจะเป็นคู่สมรสของเราในวันข้างหน้า หรือมีเครื่องสแกนเนอร์ที่สามารถบอกเราว่ากุญแจที่หายไปอยู่ที่ไหน หรือวิธีกำจัดแมลงภายในบ้านให้สิ้นซาก เป็นต้น การเติมเต็มความต้องการต่างๆ อันไม่มีที่สิ้นสุดเหล่านี้แหละจึงนำไปสู่ธุรกิจได้
นักธุรกิจหลายคนมักมองแต่ปัจจุบันเป็นหลัก ขาดการนึกเชิงมโนภาพและติดตรึงกับสิ่งเดิมๆ เสมอ การทำกำไรทางธุรกิจไม่ใช่ความโลภหรือการขโมย แต่มันเป็นรางวัลที่เราพึงได้จากความสามารถที่เรามีในด้านความนึกคิดว่าเป็นไปได้ก่อนคนอื่น
สิ่งที่ผู้แปลมองเห็นชัดๆ เลยนะคะ  นั่นคือแต่ก่อนใครจะนึกว่าโทรศัพท์มันจะมีเพียงแค่ปุ่มเดียวได้ และใช้หน้าจอสัมผัสบน iPhone เป็น Key Pad รวมถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยประสบการณ์ที่เหมือนเล่นผ่านคอมพิวเตอร์  ลืมไปได้เลยกับคำว่า WAP เป็นต้น  ล้วนแล้วมาจากการคิดนอกกรอบ, สร้างความต้องการใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน จนกลายเป็นมาตรฐานใหม่ให้กับภาคธุรกิจนี้จนคู่แข่งต้องทำตาม…
บทเรียนที่ 2 : People Pay More If It’s Worth It     ถ้าคุ้มค่าคนก็ยอมจ่าย
Richard Seymour <seymourpowell.com>  นักออกแบบสินค้า

เมื่อ Jonathan Ive เข้าร่วมงานกับ Jobs ในปี 1997   ก็เกิดปฏิกิริยาใน Apple ทันที 2 ประการคือ
1 คนหนึ่งรอบรู้พิถีพิถันสุดๆ ระดับเซียน  อีกคนเชื่อว่าตนสามารถเข้าใจและทำงานสนองความต้องการของอีกฝ่ายจนต้องยอมอุปการะตนให้เจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ทั้งสองคนจึงถือเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจดังที่ได้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้
2 เริ่มต้นจากสิ่งที่รักและนำกลับไปสู่ความสำเร็จด้านเทคโนโลยี สินค้าของ Apple ไม่ใช่เพียงสิ่งของที่ถูกผลิตขึ้นมาแบบทั่วๆ ไป แต่มันเกิดจากความใส่ใจและประกอบด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่มีให้กับสินค้านั้นๆ
บทเรียนที่ 3 : Connect Your People   เชื่อมโยงคนของคุณให้เข้าด้วยกัน
Jonah Lehrer   ผู้แต่งเรื่อง     The Search For A Cure For Stress
Jobs ซื้อกิจการ Pixar Animation Studios ปี 1986 ในราคา 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไม่ได้สนใจในเรื่อง Animation แต่อย่างไรเพียงแต่สนใจในเครื่อง Pixar Image Computer มูลค่า 135,000 เหรียญสหรัฐฯ ที่สามารถสร้างภาพ Graphic ซับซ้อนมากๆ อันเป็นเครื่องมือที่เขากับทีมงานสามารถสร้างงานเพื่อทำเงินจนสำเร็จในภาพยนตร์ดังๆ เช่น Up, Wall-E และ The Incredibles จน Walt Disney ต้องซื้อกิจการไปในราคา 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2006
ด้านสถาปัตยกรรมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างโรงถ่ายนี้เป็นศูนย์รวมของพนักงานทุกคน จากเดิมต้องการสร้างอาคารขนาดเล็กสามหลังแยกกันสำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์, นักสร้าง Animation และสำหรับนักบริหาร  แต่ Jobs ไม่เอา กลับให้สร้างเป็นหลังเดียว โดยมีโถงกว้างอยู่ตรงกลางให้พนักงานพบปะกัน  ย้ายตู้จดหมายมาไว้  ห้องประชุม  ตามด้วยร้านกาแฟ ร้านกิฟต์ช็อป รวมทั้งห้องน้ำด้วย  เพราะเขาเชื่อว่าการประชุมที่ดีที่สุดคือเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และเขาก็ถูกต้องจริงดังว่า เพราะพนักงานส่วนใหญ่บอกไอเดียเจ๋งๆ ของพวกเขาไม่ได้เกิดที่โต๊ะทำงาน  แต่ได้จากขณะกินธัญพืชสักชามกับเพื่อนร่วมงาน หรือคุยกันในห้องน้ำต่างหาก จึงยืนยันได้ว่า Jobs ได้ลงรายละเอียดในทุกๆ อย่างจริงๆ
ข้อนี้ผู้แปลอ่านแล้วทำให้นึกถึงประโยคที่ว่า การจะคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ขึ้นมาสักอย่าง หนึ่งใน resource ที่ดี คือการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกับคนสายวิชาชีพอื่นๆ เพราะจะเป็นการเติมเต็มส่วนที่ขาดของกันและกันได้ดีเลยทีเดียวค่ะ
แล้วอย่าลืมติดตามตอนที่ 2 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ ^^
ที่มา : Wired Magazine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น