Powered By Blogger

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

'โฉลก สัมพันธารักษ์' ลงทุนด้วย 'ระบบ' 'เสี่ยงต่ำ-รีเทิร์นสูง'




เปิดแนวคิดลงทุนด้วย “ระบบ” ที่บ่มเพาะมากว่าสามสิบปีบวกด้วยระบบบริหารเงินที่สร้างผลตอบแทนด้วย Leverage



ตอนที่แล้วเราได้รู้จักประวัติชีวิตของ โฉลก สัมพันธารักษ์ หรือ ลุงโฉลก นักเทรดคอมมอดิตี้ ฟิวเจอร์รายแรกๆ ของเมืองไทย แม้ลุงได้วางมือจากการเทรดไปแล้วเกือบ 20 ปี โดยนำวิชาความรู้ทางด้านเทคนิคัลที่หลายคนเชื่อว่าลุงเป็นมือวางอันดับต้นๆ นำศาสตร์และศิลป์จากประสบการณ์การเทรดอนุพันธ์และหุ้นมากกว่าสามสิบปีมาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า ขณะที่ชีวิตที่เหลือของลุงอุทิศให้กับการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา
สำหรับแนวคิดการลงทุนที่ลุงโฉลกยึดมั่นเป็นพิเศษและเป็นหัวใจสำคัญของคอร์สอบรมคือการประยุกต์ใช้แนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ลุงบอกว่าคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงคือเศรษฐกิจแบบยากจน ที่จริงแล้วความพอเพียงคือความมั่งมี แต่คนเข้าใจผิดเยอะ พอเพียงไม่ได้แปลว่าต้อง "จน" ความจริงแปลว่า "ร่ำรวยในแบบที่พอดี" ไม่มากไม่น้อยเกินไป
นอกจากนี้ ลุงโฉลกยังทิ้งแง่คิดไว้ด้วยว่าการที่เราจะเป็น "ผู้ชนะในตลาดหุ้น" เราต้องมี "แต้มต่อ" มากกว่าคนอื่น ซึ่งคำว่าแต้มต่อคือ "การเทรดโดยใช้ระบบ" ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าโอกาสขาดทุนแทบไม่มี หลักการก็คือต้องสร้างผลตอบแทนในระดับ 20% ต่อปีจะต้องไม่มากไปกว่านี้เพราะจะเกิดความโลภจนเสียระบบ ระดับผลตอบแทน 20% ถือว่าอยู่ในระดับที่พอเพียงแล้ว นอกจากนี้ยังมีวิธีการใช้ Leverage มาขยายวอลุ่มให้สร้างผลตอบแทนมากขึ้นแต่ความเสี่ยงไม่เพิ่มขึ้น
สัปดาห์นี้ ลุงโฉลกจะเปิดเผยแนวคิดการลงทุนโดยใช้ระบบมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก ผสมผสานกับการบริหารเงินที่สร้างผลตอบแทนได้สูงโดยที่ความเสี่ยงไม่เพิ่มขึ้น หลักการนี้มีรากฐานสำคัญมาจากปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ลุงมีความเชื่อส่วนตัวว่าถ้าใครยึดถือแล้วจะ "รวย"
 “เรื่องประสบการณ์ลงทุนผมจำไม่ค่อยได้แล้วเพราะวางมือจากการเทรดมานานแล้ว ที่จริงผมลงทุนอย่างจริงจังเพียงแค่ 1-2 ปีเองด้วยซ้ำ”  ลุงโฉลกเล่า
เซียนผู้เฒ่า เล่าว่าสมัยเริ่มต้นก็เทรดแบบคนปกติทั่วไปพอรู้แค่ว่าการลงทุนมี “กำลัง” ของตัวเอง ไม่สามารถไปฝืนกำลังได้ แต่ยังไม่รู้จักกับคำว่า “พอเพียง” จนกระทั่งได้มีโอกาสเป็นข้ารับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องการทำสวนทำให้ซึมซับความหมายที่แท้จริงของคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงเริ่มวางแนวคิดการลงทุนในแบบของตัวเองขึ้นมา
“ต่อจากนั้นผมลงทุนโดยใช้ระบบที่สร้างขึ้นเพียงอย่างเดียวเพื่อไม่ให้ความโลภเข้ามาเกี่ยวข้อง พอถึงอายุ 30 ปีผมแทบจะหยุดลงทุนโดยสิ้นเชิงเพราะเงินที่ได้มามัน (มาก) พอแล้ว ผมรู้ว่าความสันโดษพอเพียงคือ "ทรัพย์อย่างยิ่ง" ต่อให้รวยแค่ไหนก็ใส่เสื้อผ้าได้ทีละตัว ขับรถได้ทีละคัน รองเท้าใส่ได้ครั้งละคู่ อาหารกินได้ครั้งละหนึ่งอิ่ม ไม่รู้ว่าจะรวยเยอะๆ ไปทำไม และหันมาใช้เวลาส่วนใหญ่เผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การลงทุนมาล่อ”
ระบบเทรดในแบบของลุงโฉลกเริ่มต้นจากความคิดที่ว่า จะต้องตั้งเป้ากำไรจากการลงทุนปีละไม่เกิน 20% มากกว่านั้นจะถือว่าเป็นการพนันไม่พอเพียง สำหรับวิธีการลงทุนจะเน้น “กระจายความเสี่ยง” เช่น อาจจะเลือกหุ้นเซคเตอร์ละ 2 ตัว หรือคัดมาจากกลุ่ม SET50 หรือจะเน้นพวกที่ "ปันผลสูง" โดยมีเป้าหมายทำกำไรปีละ 20% และ ปล่อยให้ผลตอบแทนทบต้นไปเรื่อยๆ วิธีการนี้อาจจะมีหุ้นบางตัวที่ขาดทุนบ้างแต่ส่วนใหญ่จะกำไร เมื่อเฉลี่ยออกมาแล้วก็ยังได้ตามเป้า
ลุงโฉลก บอกว่าไม่สามารถที่จะอธิบายเนื้อหาของระบบเทรดที่คิดขึ้นได้ภายในวันเดียวเพราะต้องเรียนรู้หมดทุกระบบซึ่งมีกว่า 100 แบบ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไป เช่น บางระบบเน้นเข้าเร็วออกเร็ว บางระบบซื้อขายหุ้นน้อยครั้งเน้นกำไรรอบใหญ่ สรุปว่าจะต้องมาเข้าเรียนเพื่อให้รู้จักตัวเองว่าเป็นนักลงทุนแบบไหน เมื่อเรียนรู้ระบบแล้ว ทางชมรมฯจะเก็บค่าสมาชิกรายปีซึ่งถูกกว่าข้อมูลจากเมืองนอกมาก ซึ่งจะทำการสรุปข้อมูลตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงเย็นหลังตลาดปิดแล้ว จากนั้นจะให้แนวทางการลงทุนเช่นแนวโน้มกราฟเทคนิคเส้นแนวรับแนวต้านผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปเหมือนเป็นตัวกรองให้สมาชิกต้องนำไปตัดสินใจด้วยตัวเองอีกครั้ง
ที่มาของระบบมาจากหลายทฤษฎี ที่น่าสนใจคือ การนำคณิตศาสตร์ฟิโบนาชีมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีความมหัศจรรย์มาก สามารถพิสูจน์ได้ทุกอย่างแม้แต่การกำเนิดของจักรวาล การแตกหน่อของต้นไม้ และยังสามารถพิสูจน์แนวคิดการลงทุนแบบเน้นความพอเพียงได้ด้วย อย่างเช่น การขึ้นลงของหุ้นแต่ละครั้งมักจะไปทดสอบที่ระดับ 61.8% เสมอ ซึ่งถือเป็นเลขที่ใกล้เคียงค่าพาย เป็นตัวเลข Golden Triangle ของดาวินชี
พอประยุกต์มาใช้กับเรื่องของการลงทุนจะทำให้เรารู้ว่า "จุดอิมแพค" (แรงปะทะ) ของหุ้นอยู่ที่ตรงไหนทำให้เรารู้ว่าควรขายทำกำไรที่ราคาไหน และช่วยให้เราสามารถตั้งระดับความเสี่ยง Reward Ratio ว่ามีความคุ้มพอจะเสี่ยงหรือไม่ เช่น ถ้าคอนเซอร์เวทีฟก็ตั้งไว้ที่ระดับ 1 ใน 3 ถ้าเสี่ยงมากขึ้นก็ 1 ต่อ 2 แต่ถ้า 1 ต่อ 1 มันเหมือนกับการปั่นหัวก้อย มันคือ "การพนัน"
“ถ้าใช้ทฤษฎีนี้มาจับจะสามารถคำนวณทิศทางและโอกาสการขึ้นลงของหุ้นได้ แม้แต่การคำนวณการเดินของหมากรุกที่มีความเป็นไปได้มหาศาลก็ยังคำนวณได้ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้เราว่าจะเสี่ยงเพิ่มหรือควบคุมความเสี่ยง ผมสามารถพิสูจน์ได้แน่นอนว่าสามารถทำกำไรได้ 10% ต่อปี”
ระบบจะทำงานได้ดีจะต้องมีการกระจายความเสี่ยงของหุ้น ถ้าเล่นหุ้นเพียงแค่ตัวหรือสองตัวโอกาสที่จะขาดทุนมีสูง ถ้าใช้ระบบของเรากับหุ้น 100 ตัว อาจมีบางตัวขาดทุนเราไม่ต้องไปสนดูแค่ภาพรวมพอ อย่าไปให้ความสำคัญกับหุ้นเพียงตัวเดียวเหมือนนักลงทุนไทยส่วนใหญ่ อันนั้นคือ "การพนัน" ทุกสิ่งทุกอย่างมีกำลังของมันอยู่ ค่าเฉลี่ยย้อนหลังบอกแล้วว่าหุ้นไทยสร้างผลตอบแทนได้ปีละ 10% เท่านั้น ขนาดวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่เก่งที่สุดของโลกยังสร้างผลตอบแทนได้เต็มที่ปีละ 15.5% เท่านั้น ระบบที่ผมคิดก็มีกำลังในตัวสร้างผลตอบแทนได้ปีละ 10% ไม่เกินจากนี้ ถ้าจะมองมากกว่านี้คือ "ไม่พอเพียง"
การสร้างผลตอบแทนอีกแบบคือการลงทุนใน “ตราสารอนุพันธ์” ความพิเศษคือสามารถใช้ Leverage ในการสร้างผลตอบแทนได้สูง แต่ต้องระวังความโลภที่อาจจะเข้ามาจึงแนะนำให้ตั้งผลตอบแทนไม่เกิน 10% เช่นกัน
วิธีการบริหารเงินในแบบของลุงโฉลก คือ ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ 10% ของพอร์ตที่เหลือลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET50 เช่น สมมุติมีเงิน 10 ล้านบาท ให้นำเงิน 1 ล้านบาทมาเล่นโกลด์ฟิวเจอร์ 1 สัญญาซึ่งใช้เงินวางมาร์จิน 1 แสนบาท และสร้างผลตอบแทนให้ได้ 10% ส่วนที่เหลือ 9 ล้านบาท ให้ลงทุนในหุ้นโดยมีข้อแม้จะต้องคิดเสมอว่าเงินก้อนนั้นคือ "เงินสำรอง" เวลาที่ฉุกเฉินสัญญาฟิวเจอร์ถูก Call Margin จะมีเงินมาโปะได้ทันเวลา รวมสองก้อนได้ผลตอบแทน 20% ต่อปี อยู่ในระดับที่พอเพียง ถ้าเอาเงินไปลงฟิวเจอร์อย่างเดียวมันเสี่ยงเกินไป
ขณะเดียวกันเรามีโอกาสสร้างผลตอบแทนจากอนุพันธ์ได้มากกว่านั้นโดยที่ไม่มีความเสี่ยงเพิ่มเช่นเปิดเพิ่มอีก 1 สัญญา ถ้าสร้างผลตอบแทนได้ 10% ก็จะเพิ่มเป็น 20% ได้ในตัว แต่ขออย่าลงมากกว่านั้นเพราะจะทำให้ระบบที่สร้างขึ้นเสียไป ขอให้คิดว่ายังดีกว่าเอาเงินไปฝากธนาคารที่ให้ผลตอบแทนเพียง 1-2%
“บทสรุปคือการลงทุนโดยใช้เทคนิควิเคราะห์ไม่ใช่การพนันเพราะเราใช้ระบบช่วยคิด แต่การพนันไม่ใช้อะไรเลย ดวงอย่างเดียว”
ลุงโฉลก บอกว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยจะต้องเรียนรู้เรื่องการบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพ สาเหตุที่สิงคโปร์สามารถยึดประเทศเราได้เพราะมีกองทุนเทมาเส็กลงทุนหวัง 10% ทั่วโลก ดูไบก็มีกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ ส่วนของไทยตั้งไม่ได้เพราะมีคนจ้องจะโกงเงิน ทางออก คือ จะต้องกันคนออกไปและใช้ระบบลงทุน คนวางระบบกับคนทำงานต้องแยกออกจากกัน อย่างวิกฤติปี 2540 เราเสียหายเพราะเรื่องบริหารอัตราแลกเปลี่ยนใช้คนเข้ามายุ่งเกี่ยวมากเกินไป ที่จริงเราไปซื้อ Long Position หรือออปชั่นค่าเงินก็ได้ จ่ายแค่ค่าพรีเมียม ไม่จำเป็นต้องซื้อฟอร์เวิร์ดซึ่งต้องใช้เงินมากกว่าก็ได้
สำหรับเป้าหมายต่อไปของชีวิต ลุงโฉลก บอกว่า อยากเผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้รับรู้ในวงกว้างมากที่สุด โดยเฉพาะการนำมาใช้ในภาคการเกษตร ถ้าชาวนาชาวไร่สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินอย่างออปชั่นก็ไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบเพราะรู้กำไรก่อนที่จะไถหว่านแล้ว รัฐบาลก็สามารถค้ำประกันให้ธนาคารปล่อยกู้ได้ด้วย ทุกวันนี้เกษตรกรทั่วโลกเปิดบัญชีที่ Chicago board of Trade ทั้งนั้น ปริมาณเงินหมุนเวียนต่อวันที่นั่นมากกว่างบประมาณของสหรัฐอเมริกาทั้งปีเสียอีก เกษตรกรเมืองนอกเขาถึงรวยกัน ถ้าเกษตรกรเข้าใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอาจจะตั้งเป้ากำไรที่ 20% แล้วไปซื้อ Put Option เอาไว้ ถ้าราคาขึ้นก็ยกเลิกออปชั่นได้แล้วไปขายใหม่ที่ราคาสูงกว่า
สำหรับนักลงทุน ลุงโฉลก ฝากไว้อยากให้รู้จักกับระบบเทรดให้ดีแล้วลงทุนโดยตัดอารมณ์ความรู้สึกออกไป ไม่มีระบบไหนที่ดีที่สุดมีแต่ระบบที่เหมาะสมกับแต่ละคน เราไม่จำเป็นต้องเล่นได้ทีละเยอะๆ อาจจะได้น้อยๆ แต่ได้ตลอดเวลาดีกว่า ตัวอย่างเช่นเวลาเล่นกาสิโน เมืองนอกจะมีกฎหมายว่าห้ามกินตังค์ผู้เล่นในอัตราความน่าจะเป็นที่ 94% ที่เหลือ 6% เปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้ตังค์บ้าง เพราะถ้ากินฝ่ายเดียวอีกหน่อยจะไม่มีใครมาเล่น ถ้าโลภมากเกินไปก็จะไม่ยั่งยืนเช่นกัน
 “ผมใช้เวลา 6 ปีหลังมานี้ทุ่มเทให้กับการสอน ไม่เน้นหาเงิน ไม่เที่ยวเมืองนอก แต่ผมมีความสุขเพราะเห็นลูกศิษย์หลายคนประสบความสำเร็จ” แค่นี้ลุงก็มีความสุขแล้ว!!!

บทความคุณลุงโฉลก (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์:ถนนนักลงทุน)

' โฉลก สัมพันธารักษ์' นักเทคนิคคัลที่ 'เซียน' เรียก 'อาจารย์'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ถนนนักลงทุน วันที่ 24 มกราคม 2555

รูปภาพ

เปิดตัวเซียนเหนือ เซียน 'โฉลก สัมพันธารักษ์' นักเทรดคอมมอดิตี้ ฟิวเจอร์ รายแรกๆ ของเมืองไทย ผู้สร้างความมั่งคั่งด้วย 'เทคนิคัล' ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่เคยเปิดตัวออกหน้าสื่อหรือโฆษณาครึกโครม แต่เว็บไซต์โฉลกดอทคอม (Chaloke.com) ก่อตั้งโดยกลุ่มลูกศิษย์ โฉลก สัมพันธารักษ์ หรือ ลุงโฉลก ได้ถูกนำไปบอกต่อกันบนโลกออนไลน์แบบเงียบๆ ถึงหลักสูตรการลงทุนที่เข้มข้นและยาวนานต่อเนื่องกว่า 8 เดือนต่อหนึ่งคอร์ส ที่แม้แต่บรรดาโบรกเกอร์บางแห่งต้องส่ง "เจ้าหน้าที่การตลาด" มาฝากตัวเป็น "ศิษย์" กับท่านอาจารย์

ว่ากันว่ามีผู้จบหลักสูตรจากที่นี้แล้วนับหมื่นราย รวมถึง "หยง" ธำรงชัย เอกอมรวงศ์ เซียนเทรดคอมมอดิตี้ ฟิวเจอร์ ซึ่งบ่มเพาะวิชาเทคนิคและการวิเคราะห์จิตวิทยามวลชนมาจากลุงโฉลก จนพัฒนาตัวเองไปสู่วิทยากรสอนด้านการใช้เครื่องมือทางเทคนิคที่กำลังมาแรงใน ตอนนี้

ประวัติชีวิตของเซียนเหนือเซียนท่านนี้ยังไม่เคยถูกนำออกมาเผยแพร่ที่ ไหนมาก่อน เหตุผลหนึ่งลุงโฉลกได้ “วางมือ” (ล้างมือในอ่างทองคำ) จากการเทรดไปแล้วเกือบ 20 ปี โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ที่เหลือในชีวิตหมดไปกับการทำบุญทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ผ่านมูลนิธิโฉลก แม้เจ้าตัวจะไม่เคยพูดถึงมูลค่าทรัพย์สินส่วนตัวให้ใครฟังมากนัก แต่ที่ได้ยินจากคนใกล้ชิดลุงโฉลกน่าจะรวยระดับ "เศรษฐีพันล้าน"

ทีมข่าว "ถนนนักลงทุน" กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีนัดกับลุงโฉลก ชายแก่ผมขาว ณ สถานที่อบรมของชมรมฯท่ามลูกศิษย์กว่า 300 คน แทบจะเรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ลุงให้สัมภาษณ์กับสื่อ วินาทีแรกที่เห็นแทบไม่น่าเชื่อว่านี่คือบุคคลระดับเศรษฐีคนหนึ่งเพราะลุง เดินมาทักทายด้วยเสื้อเชิร์ตสีขาวธรรมดาไม่มียี่ห้อ ปราศจากเครื่องประดับตกแต่งใดๆบนร่างกาย แต่ระหว่างการสนทนาทีมงานเห็นลุงฉีกยิ้มด้วยความสุขทุกครั้งที่ได้เล่าแนว คิดการลงทุนที่บ่มเพาะมานานกว่า "สามสิบปี"

“ผมไม่เคยทำงานประจำ ไม่ชอบมีนายและไม่เคยเรียกใครว่านาย” ลุงเริ่มพูดถึงตัวเองให้ฟัง

เซียนผู้เฒ่า เล่าว่าตั้งแต่จบการศึกษาปริญญาตรีสถาปัตย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว (ลองเดาอายุได้) ก็ตัดสินใจเดินทางไปทำงานกับพ่อที่ประเทศอังกฤษพร้อมกับเรียนต่อปริญญาโท ด้านสถาปัตย์ต่อ งานที่ทำคือไปช่วยเปิดออฟฟิศที่ลอนดอน พอดีในตอนนั้นพ่อมีเพื่อนเป็นชาวญี่ปุ่นซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขาย ล่วงหน้าในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งมีเครือข่ายอย่างเช่น ธนาคารมิตซุยโฮ สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ลุงโฉลกได้เสนอตัวเป็นลูกศิษย์ขอเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ทำให้เขาเป็นคนไทยกลุ่มแรกๆ ที่รู้จักกับการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า

“เมืองไทยตอนนั้นไม่รู้จักว่าอนุพันธ์คืออะไร เราซื้อขายที่ราคาสปอตหมด แต่สินค้าบางอย่างมันซื้อขายสปอตไม่ได้ เช่น พวกข้าว ยาง เพราะต้องใช้เวลาขนส่ง ถ้าเราไปใช้ราคาสปอตผู้ซื้อได้เปรียบเพราะราคาอาจจะสูงขึ้นก็ได้ ทำให้ผมตัดสินใจเรียนรู้เรื่องของฟิวเจอร์อย่างจริงจัง พอจบปริญญาโทก็ต่อปริญญาเอกทันทีแต่ตัดสินใจเลิกเรียนหันมาลงทุนดีกว่าถ้า เราเข้าใจมันอย่างดีก็พออยู่ได้”

สาเหตุที่ไปเปิดออฟฟิศซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์ที่ลอนดอนเพราะอยู่ตรงกลาง ของโลก เวลาห่างจากประเทศไทย 6 ชั่วโมงและห่างจากนิวยอร์ค 6 ชั่วโมงสามารถเทรดเชื่อมกันได้ สิ่งที่ได้เรียนรู้มากที่สุดตอนอยู่ที่อังกฤษคือการใช้กราฟแท่งเทียน (Candle stick) ซึ่งญี่ปุ่นเป็นคนคิดค้นขึ้นตั้งแต่หลายร้อยปีก่อน (คิดค้นขึ้นราว ค.ศ.1750 โดยพ่อค้าข้าวชื่อ โชกิว ฮอนม่า)

หลังจากนั้น ลุงโฉลกเดินทางกลับมาประเทศไทยถือเป็นนักลงทุนกลุ่มแรกของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย แต่เขาใช้เวลาไปกับการเทรดคอมมอดิตี้ ฟิวเจอร์ซึ่งเปิดบัญชีไว้ที่อังกฤษ สังเวียนการต่อสู้ของลุงคือพวกเฮดจ์ฟันด์ (เสือหิว) ระดับโลกหากินอยู่ที่ Chicago Board of Trade และตลาดนิวยอร์ค สินค้าที่เทรดมีตั้งแต่พวกซอฟท์คอมมอดิตี้อย่าง ข้าว ถั่วเหลือง โกโก้ กาแฟ เนื้อหมู เนื้อวัว น้ำตาล ข้าวโพด กลุ่มโลหะมีค่าเช่น ทองคำ พาราเดียม แพลตินัม จนถึงสินค้าทางการเงินอย่างเช่น ดอกเบี้ย พันธบัตรรัฐบาล ต่อมาก็เริ่มมีดัชนีตลาดหุ้นล่วงหน้าแต่ละประเทศให้เทรด เช่น ดาวโจนส์

“สินค้าในตลาดล่วงหน้าที่เรามีอยู่ตอนนี้ผมเคยเทรดในต่างประเทศมาหมด แล้ว อย่างทองคำผมเล่นในตลาดโคเม็กซ์มาก่อน ซิลเวอร์ก็เคยเล่น ยางพาราก็ด้วย เสียดายที่ตอนนี้สัญญาซื้อขายต่อวันยังน้อยไปหน่อยทำให้ไม่คิดที่จะเข้ามาลง ทุน แต่หลายปีก่อนผมแนะนำลูกศิษย์ให้ไปเทรดดัชนีหุ้นล่วงหน้าในกลุ่มประเทศ BRICS (บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, แอฟริกาใต้) ต่างได้ผลตอบแทนที่ดีมากกลับมา”

นักเทคนิคมือฉมังผู้ล้างมือจากยุทธจักร บอกว่า เสียดายที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องของสัญญาล่วงหน้าเลยทั้งที่ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย ยังดีที่บางอุตสาหกรรมรู้จักการใช้ฟิวเจอร์แล้ว เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาล ที่มีความสำคัญเพราะเวลาที่ตกลงซื้อขายสินค้ากันพอถึงเวลารับเงินราคามันไม่ เท่าเดิมแล้วเพราะค่าเงินเปลี่ยนไป สมัยก่อนคนไทยไม่เคยคิดตอนที่ดอลลาร์ต่อบาทยังอยู่ที่ 20 บาท เวลาซื้อขายระหว่างประเทศจำนวนไม่มากจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง แต่พอเงินมากขึ้นมันเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน พวกดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ถึงมีความสำคัญมากต่อนักธุรกิจ

หลังจากลงทุนในประเทศไทยได้ระยะหนึ่ง ลุงโฉลกสังเกตุว่าคนไทยยังเล่นหุ้นเหมือนกับ "เล่นพนัน” จึงอยากจะให้ความรู้กับนักลงทุนโดยเฉพาะการใช้เครื่องมือทางเทคนิค แต่ติดอุปสรรคที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตอนนั้นไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ เข้าถึงข้อมูลเพื่อมาทำชาร์ตราคาย้อนหลัง จนกระทั่งเริ่มเข้าไปให้ข้อมูลนักลงทุนในเว็บไซต์ SET50.Com เมื่อสิบกว่าปีก่อน พอมีคนสงสัยโพสต์ถามไว้ในเว็บบอร์ดก็เข้าไปตอบ เริ่มมีคนสนใจการใช้เทคนิคมากขึ้น จนสมาชิกกลุ่มหนึ่งมาช่วยให้ตั้งเว็บบอร์ดของตัวเอง จนเป็นที่มาของเว็บไซต์โฉลกดอทคอมในตอนนี้

เนื้อหาที่สอนส่วนใหญ่เป็นการใช้เครื่องมือทางเทคนิคมาวิเคราะห์การลง ทุน รวมถึงแนวคิดด้านการลงทุนซึ่งกลั่นมาจากประสบการณ์ คอร์สหนึ่งจะใช้เวลาในการเรียน 8 เดือนเพราะเนื้อหาเยอะมากและต้องมีการสอบวัดผลด้วย ถึงตอนนี้มีผู้ที่ผ่านการอบรมไปแล้วนับหมื่นคน หลายคนจบออกไปก็ประสบความสำเร็จและกลับมาเป็นวิทยากรให้ชมรม แต่ยังน่าเสียดายที่คนไทยยังเล่นหุ้นเหมือนการพนัน ส่วนหนึ่งเพราะไม่รู้จักกับคำว่า “พอเพียง” เน้นแต่จะเอากำไรเยอะๆ พอเริ่มมีกำไรก็เกิดความโลภ ความเสี่ยงเลยสูงตามเป้าหมาย

บางครั้งชมรมก็จะมีคอร์สอบรมพิเศษ เช่น กลุ่มร้านทองมารวมตัวกันเพื่อเรียนรู้การใช้ Option ในการซื้อทองคำเข้ามาเก็บในสต็อก ถ้าไม่ใช่เครื่องมือการเงินมาช่วยถ้าซื้อทองมาแล้วราคาลงก็ต้องขายออกไปเลย และเอากำไรแค่ค่ากำเหน็จ แต่ถ้าใช้วิธีไปซื้อ Put Option เพื่อตัดความเสี่ยงประกันราคาที่อาจจะตก แต่ถ้าราคามันขึ้นก็ยกเลิกออปชั่นแล้วไปขาย Call option เพื่อทำกำไรได้อีก แบบนี้มีแต่กำไรอย่างเดียวไม่มีจน ตอนนี้ชมรมของเรากำลังจะมีสำนักงานของตัวเองแถวถนนสุรวงศ์ซึ่งจะมีห้อง ประชุมให้สมาชิกได้พบปะกัน กิจกรรมที่เราทำร่วมกันบ่อยๆคือรวมเงินไปซ่อมแซมวัด สร้างเมรุ สร้างโรงเรียน

สำหรับแนวคิดการลงทุนที่ลุงโฉลกยึดมั่นเป็นพิเศษและ เป็นหัวใจสำคัญของคอร์สอบรมคือการประยุกต์ใช้แนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง ลุงเสริมว่าคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงคือเศรษฐกิจแบบ ยากจนต้องทำนา ขุดบ่อ ซึ่งจริงแล้วไม่ใช่เลย

“จริงแล้วความพอเพียงคือความมั่งมี แต่คนเข้าใจผิดเยอะ พอเพียงไม่ได้แปลว่าต้องจน ความจริงแปลว่าร่ำรวยในแบบที่พอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป”

จากที่ได้พูดคุยกับลูกศิษย์ที่ทำงานโบรกเกอร์ต่างบอกว่านักลงทุน 90% มักจะขาดทุนซึ่งน่าเสียดายมาก การที่เราจะเป็นผู้ชนะในตลาดหุ้นเราต้องมีแต้มต่อ (EDGE) มากกว่าคนอื่น ถ้าในชมรมของเราคำว่าแต้มต่อคือการเทรดโดยใช้ “ระบบ” ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าโอกาสขาดทุนแทบไม่มี หลักการก็คือต้องสร้างผลตอบแทนในระดับ 20% ต่อปีจะต้องไม่มากไปกว่านี้เพราะจะเกิดความโลภจนเสียระบบ ระดับผลตอบแทนดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับที่พอเพียงแล้ว นอกจากนี้ยังมีวิธีการใช้ Leverage มาขยายวอลุ่มให้สร้างผลตอบแทนมากขึ้นแต่ความเสี่ยงไม่เพิ่มขึ้น
ตอนหน้าลุงโฉลกจะเจาะลึกแนวคิดการลงทุนโดยใช้ระบบเทรดและการบริหารเงิน อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งผ่านการบ่มเพาะมานานกว่าสามสิบปี ผสมผสานกับการลงทุนโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง...ห้ามพลาดเด็ดขาด!!!

---------------------------------------------------
ใช้ Option สร้างความมั่งคั่ง 'สินค้าเกษตร'
-----------------------------------------------
โฉลก สัมพันธารักษ์ กล่าวว่า เพื่อพิสูจน์ให้เห็นการใช้เครื่องมือทางการเงินอย่าง Option สามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับเกษตรกรได้จริงจึงตัดสินใจรวบรวมเงินก้อน หนึ่งไปซื้อที่ดิน 1,000 ไร่ ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เพื่อทำไร่มันสำปะหลังและข้าวโพดและว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรมาควบ คุมการเพาะปลูก มีการใช้เทคนิคสมัยใหม่เช่นรถแทรคเตอร์ ระบบจีพีเอส ผลิตเอมไซน์เพิ่มผลผลิตเอง เทคนิคการปรับหน้าดิน ปลูกบ่อ ทำให้สามารถสร้างผลผลิตได้มากกว่าคนอื่นสามเท่า โดยชมรมเป็นผู้ใช้เครื่องมือการเงินช่วย Fix ราคาพืชผล โดยใช้เทคนิคอย่าง Option

เมื่อเก็บเกี่ยวจนได้ราคาที่พอใจ ก็จะไปซื้อ Put Option เพื่อประกันราคาไม่ให้ตกแต่ถ้าราคาขึ้นเราก็จะยกเลิกเพื่อไปขายที่แพงกว่า สมมุติว่าราคามันสำปะหลังอยู่ที่ 100 บาท เราขอกำไรที่พอเพียงคือ 20% ซึ่งในโลกนี้จะหาอะไรที่ทำกำไรได้ขนาดนี้น้อยมาก แค่นี้ก็สามารถล็อกผลกำไรที่พอใจได้แล้วโดยจ่ายเพียงแค่ค่าพรีเมี่ยมเท่า นั้น แบบนี้ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ยกเว้นทุจริตกันเอง

เนื่องจากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าประเทศไทยยังไม่มีการใช้ Option จึงต้องไปเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์คือ Financial Global ซึ่งเป็นนายหน้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกแต่ตอนนี้ติดปัญหาล้มละลายเงินของเราเลย ไปจมอยู่บางส่วนยังดีที่ได้มีการกระจายไปยังโบรกเกอร์ที่สิงคโปร์บ้าง
ที่ดินผืนนั้นเปิดโอกาสให้สมาชิกชมรมได้ร่วมหุ้นด้วยเพื่อเพิ่ม Economy of Scale ในขณะที่ต้นทุนดำเนินการเท่าเดิมเมื่อพื้นที่มากขึ้นกำไรเราก็มากขึ้น เมื่อได้กำไรมาก็จะไปซื้อที่ดินรอบๆเพิ่มจนปัจจุบันที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น 2,000ไร่แล้ว นอกจากนี้ยังได้กำไร Capital Gain จากราคาที่ดินซึ่งเพิ่มขึ้นจากไร่ละ 25,000 บาท ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 60,000 บาทแล้ว ได้กำไรมหาศาล

“เสียดายที่รัฐบาลไม่เคยรู้เรื่องนี้แค่จะขอกำหนดราคา Option กับต่างประเทศก็ทำไม่สะดวก ถ้ามีเราสามารถทำให้ราคาข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าว ยางพารา เนื้อสัตว์ สามารถขายได้ราคาดีเกษตรกรจะไม่จน ผมอยากให้ชาติและคนไทยได้มีความมั่งคั่งด้วยเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการสอนผ่าน การลงทุนในตลาดหุ้น ลูกศิษย์ผมที่เก่งๆ น่าจะมีหลักพันคนจากที่เปิดสอนมา 6 ปี ตอนนี้ผมพิสูจน์แล้วว่าแนวคิดนี้ทำกำไรได้แน่นอนไม่เพ้อฝัน”

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นิสัยเซียน : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (บทความแนะนำ เหมาะกับตลาดช่วงนี้ครับ)

นิสัยเซียน

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


เซียนหุ้นชั้นนำของโลกแต่ละคนมักมีคุณลักษณะที่แตก

ต่างกัน แต่ละคนมักมีเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ศึกษาดูจะพบว่าเซียนเหล่านั้นมักมีนิสัย

เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันในหลายๆเรื่อง และต่อไปนี้คือนิสัยที่ผมคิดว่าเราควรศึกษา

และประยุกต์ใช้ ถ้าเราอยากจะเป็น “เซียน” บ้าง


เรื่องแรกก็คือ เซียนตัวจริงนั้น

เวลาลงทุน เรื่องที่คิดมากที่สุดกลับไม่ใช่ว่าจะทำกำไรได้มหาศาลแค่ไหน แต่เป็นว่า จะ

รักษาเงินต้นเอาไว้ได้อย่างไร และนี่ก็คือกฎข้อหนึ่งและข้อสองของ

วอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งบอกว่า หลักการลงทุนที่สำคัญที่สุดก็คือ

อย่าขาดทุน และอย่าขาดทุน


เรื่องที่สองก็คือ การลงทุนนั้น

เซียนแต่ละคนจะมีหลักปรัชญา หลักการ และวิธีการลงทุนที่ชัดเจนเป็นแบบฉบับของตนเอง

ไม่มีการมั่วหรือเป็น “มวยวัด” สิ่งต่างๆเหล่านั้นถูกพัฒนาและทดสอบมา

เป็นอย่างดีเป็นเวลายาวนาน และจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลับไปกลับมา

เรื่องที่สามก็คือ เซียนหุ้นนั้น

ไม่ชอบความเสี่ยงแต่ชอบความแน่นอน และความ “ได้เปรียบ” เวลาจะลงทุนอะไรมัก

จะคิดถึงโอกาสชนะว่ามีสูงกว่าโอกาสที่จะแพ้มากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสชนะมากกว่าแพ้

เพียงเล็กน้อย เขามักจะ “ไม่เล่น” เพราะฉะนั้น เราจะไม่เห็นคนเหล่านี้เล่นรูเล็ตหรือ

เข้าคาสิโนเพื่อการพนันซึ่งโอกาสชนะมี แค่ 30-40% ขณะที่โอกาสแพ้อยู่ที่ 60-70% แต่

การลงทุนที่โอกาสชนะสูงมากๆนั้นมีไม่มาก ดังนั้นเซียน

จึงมักไม่เล่นหรือลงทุนบ่อยนัก


เรื่องที่สี่ก็คือ เซียนนั้นลงทุน

ในสิ่งที่ตนเองรู้จักดี มีการวิเคราะห์และคิดเอง ไม่เชื่อคนอื่นโดยไม่ได้พิจารณาด้วยตน

เองอย่างลึกซึ้ง ในทางตรงกันข้าม เซียนจะไม่ลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่เข้าใจ หรือการลงทุน

นั้นไม่เข้าเงื่อนไขที่ตนเองกำหนด หรือตนเองไม่สบายใจที่จะลง ตัวอย่างเช่นหุ้นที่มีค่า PE

และ/หรือ PB สูงเกินไป หุ้นที่ผู้บริหารไม่น่าไว้วางใจ เป็นต้น แม้ว่าหุ้นเหล่านั้นอาจจะ

ทำกำไรให้ได้ง่ายและเร็วในบางสถานการณ์

นิสัยที่ห้าก็คือ เซียนส่วนใหญ่

จะไม่ “กระจายความเสี่ยง” โดยการกระจายการถือหุ้นมากเกินไป

เซียนมักจะมีหุ้นหลักตัวใหญ่ๆในพอร์ตซึ่งเป็นตัวที่จะกำหนดผลงานหรือความเป็นความ

ตายในการลงทุนเพียงไม่กี่ตัว แม้ว่าเขาจะมีหุ้นย่อยๆเป็น 10 หรือ 100 และแม้แต่ 1,000

ตัว อย่างพอร์ตของ ปีเตอร์ ลินช์ หุ้นตัวหลักๆเหล่านั้นก็คือหุ้น

ที่สร้างความแตกต่างและทำให้เซียนเป็นเซียนขึ้นมาได้


ข้อสรุปในเรื่องนี้ก็คือ การเป็นเซียนนั้น คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกหุ้นถูกทุกตัวหรือแม้จะ

เป็นส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ข้อสำคัญก็คือ ในหุ้น 10 ตัว คุณ

อาจจะเลือกถูกเพียง 3 ตัว แต่ถ้าหุ้น 3 ตัวนั้นเป็นหุ้นที่ทำกำไรมหาศาลก็เพียงพอแล้ว

สำหรับผลงานที่ดีเยี่ยม


นิสัยที่หกก็คือ เซียน

หุ้นตัวจริงนั้นมี “EQ” ของการลงทุนสูง ไม่ใคร่หวั่นไหวกับภาวะตลาดผันผวนหรือ

ข่าวต่างๆ ที่อาจจะดูรุนแรงแต่ผลกระทบจริงต่อการลงทุนมีน้อย
นิสัยในกลุ่มนี้ที่ผม

เห็นว่ามีความสำคัญก็คือ เซียนหุ้นนั้นมักใจเย็น สามารถอดทนรอได้อย่าง “ไม่มี

เวลาจำกัด”
ถ้ายังไม่เห็นโอกาส ขณะเดียวกัน ถ้าเห็นโอกาส “ลอยมา

ตรงหน้า”
เซียนหุ้นสามารถตัดสินใจ และลงมือได้

ทันทีไม่มีการผัดวันประกันพรุ่ง หรือต้องไปศึกษาพินิจพิจารณายืดยาว ความรู้สึกของผม

ก็คือ เซียนหุ้นชั้นนำคงจะมีความคิดต่างๆอยู่ในใจที่พร้อมอยู่แล้ว เมื่อโอกาสเปิดก็คว้าได้

ทันที


พฤติกรรมที่เจ็ดของเซียนหุ้นก็คือยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว

ภาษาหุ้นและการลงทุนก็คือ สามารถ “Cut Loss”

ได้ทันทีเมื่อเห็นว่าหลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่ไม่เป็นไปตามที่คาด หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำ

ให้เหตุผลในการซื้อหมดไป พูดง่ายๆ เซียนหุ้นมักไม่ยอม “ติดหุ้น” อย่างนักลงทุน

ประเภท “แมงเม่า” ซึ่งไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดโดยการขายหุ้นที่ขาดทุนมาก

ทิ้งได้


ข้อแปดที่ผมเลือกมาก็คือ

เซียนหุ้นนั้น เวลาลงทุนแต่ละครั้งจะต้องมี “Story” หรือเรื่องราว หรือเหตุผลหลัก

ว่าทำไมจึงลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้น ซึ่งไม่ใช่เพราะคิดว่าราคาหุ้นจะขึ้น แต่จะต้อง

เป็นเรื่องอื่นๆที่เมื่อเกิดขึ้นจะส่งผลต่อราคาหุ้นในที่สุด เรื่องราวอาจเป็นได้ทั้งเรื่องระยะสั้น

หรือระยะยาว อาจเป็นได้ทั้งเรื่องของตัวธุรกิจเอง หรือเรื่องภายนอกที่จะส่งผลอย่างสำคัญ

ต่อตัวธุรกิจและราคาหลักทรัพย์ในที่สุด

นิสัยที่เก้าก็คือ เซียน

หุ้นนั้นมักจะเป็นคนบ้าหุ้น หายใจเข้าออกเป็นเรื่องของการลงทุน ทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่

ของตนมักจะอยู่ในหลักทรัพย์
การลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ แต่ไม่ใช่คนที่เฝ้ากระดานหุ้น

ติดตามราคาหุ้นทุกนาที เพราะเซียนหุ้นตัวจริงนั้นไม่จำเป็นและมักไม่สนใจการเคลื่อน

ไหวของราคาหุ้น ในระยะสั้น เซียนหุ้นชอบศึกษาและติดตามความเป็นไปของกิจการ

ภาวะแวดล้อม และประเด็นอื่นๆที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มากกว่า

สุดท้ายก็คือ นิสัยส่วนตัวของ

เซียนการลงทุน ที่ดูแล้วก็น่าแปลก ค่าที่ว่าเซียนหุ้นมักจะเป็นคนที่มีความมั่งคั่งมหาศาล

(ถ้าไม่มั่งคั่ง ใครจะเรียกว่าเป็นเซียน!) แต่ส่วนใหญ่แล้วกลับใช้ชีวิตธรรมดาแบบคนชั้น

กลางระดับสูงเล็กน้อย และไม่มีใครเลยที่ใช้ชีวิตความเป็นอยู่สูงกว่าระดับความมั่งคั่งของ

ตนเอง ทั้งที่ดูไปแล้ว เงินสำหรับเซียนนั้น หามาได้ง่ายและเร็ว แต่คนเหล่านั้นกลับไม่

ฟุ่มเฟือย ไม่ชอบใช้เงินในสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือใช้เงินไม่คุ้มค่า

นิสัยทั้ง 10 ข้อนี้ ไม่ได้หมายความว่าเซียนทุกคนต้องมี

เหมือนกันหมด เพียงแต่เป็นนิสัยที่เซียนหลายๆคนที่ผมศึกษามี และผมคิดว่านิสัยหลายๆ

ข้อมีส่วนสำคัญในการสร้างความสำเร็จในการลงทุนให้แก่เขา และผมเชื่อว่า ถ้า Value

Investor นำเอาไปใช้และทำให้เป็นนิสัย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการลง

ทุนคงจะมีสูงขึ้น


*************************

นิสัยเซียน

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โลกในมุมมองของ Value Investor

22 ตุลาคม 2547

ที่มา http://www.sarut-%3cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Ehomesite.net/2010/11/%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8B%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%94%E0%B8%A3-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%AB/%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E
ผมว่าจุดเริ่มต้นของคนเราเริ่มจาก"ทัศนคติ"จากสิ่งนั้นๆก่อน มันจึงจะเกิดแรงบรรดาลใจให้ไปถึงเป้าหมาย ถ้า"ทัศนคติ"คุณผิด มันก็จะผิดเกือบทั้งหมด

บางส่วนของ วอเรน บัฟเฟตต์ ที่ให้สัมภาษณ์CNBC


เลือกมาเป็นบางประเด็นนะครับ เพราะบางคำถามปู่บัฟเตต์ก็ตอบทีเล่นทีจริงแถมกำกวมอีก


เกี่ยวกับการเลือกตั้งในยูโรโซนและการที่หุ้นทั่วโลกตกลงรับข่าวดังกล่าว
"10หรือ20ปีที่แล้วยุโรปเป็นผู้ผลิตสินค้าคุณภาพ นี่ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุดของโลก"
"ผมไม่เคยบ่นเลยที่จะได้ซื้อหุ้นถูก"
"สัปดาห์ก่อนเบิร์กไชร์เพิ่งเป็นเจ้าของบริษัทหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ สถานการณ์ตอนนี้ไม่ทำให้ผมหยุดซื้อหุ้นที่มีคุณค่า"

เกี่ยวกับการลงทุนทองคำ
"ถ้าคุณซื้อทองหนึ่งออนซ์เมื่อร้อยปีที่แล้วมันก็ยังเป็นทองหนึ่งออนซ์ในตอนนี้ แต่ถ้าคุณเป็นเจ้าของฟาร์มคุณจะได้ผลิตผลจากมันและหนึ่งร้อยปีผ่านไปคุณก็ยังมีฟาร์มอยู่ แต่ถ้าคุณซื้อหุ้นในดาวนส์โจนส์คุณจะได้เงินปันผลตลอด100ปี"
เสริมให้ว่าปู่บัฟเฟตต์ไม่เคยสนใจลงทุนทองคำครับ

เกี่ยวกับที่ได้คุยกับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก
"จากที่ได้คุยกับซัคเคอร์เบิร์ก มัน(FB)เป็นธุรกิจที่พิเศษและยากที่จะตีค่าธุรกิจ"
"มีสิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่างบิลเกตต์กับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก พวกเขาไม่ได้ทำธุรกิจเพื่อหวังความร่ำรวย"
เหมือนเดิมคือปู่แกไม่ชอบหุ้นเทคโนโลยี

บัฟเฟตต์เล่าให้ฟังว่าสตีฟจ๊อปส์เคยโทรมาปรึกษาว่าจะทำอะไรกับเงินสดที่มีอยู่มากเหลือเกินในบริษัทแอปเปิล
เขาตอบว่า “ฟังดูเป็นไปไม่ได้ที่แอปเปิลจะไม่เคยซื้อกิจการใดๆในขณะที่มีเงิน1ล้านล้านเหรียญในมือ บางทีแอปเปิลอาจต้องจ่ายปันผลหรือซื้อหุ้นคืนบ้าง แต่ผมเดาว่าเขาอาจทำทั้งสองอย่าง”
(สุดท้ายแล้วทิม คุ๊กก็ได้ทำทั้งสองอย่างจริงๆ)

โค้ดคำพูดที่บัฟเฟตต์คุยกับผู้ถือหุ้น
"นักลงทุนรายย่อยอย่าไปให้ความสนใจกับข่าวรายวันมากนัก"
"ผมไม่เห็นทางที่จะทำเงินได้จากการซื้ิอขายหุ้นบ่อยๆ"

คำตอบยังสะท้อนตัวตนของปู่เหมือนเดิมครับ
มาเป็นแฟนเพจผมได้ที่ http://www.facebook.com/pages/TingLi-stock-talk/273369239409505