นิสัยเซียน
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เซียนหุ้นชั้นนำของโลกแต่ละคนมักมีคุณลักษณะที่แตก
ต่างกัน แต่ละคนมักมีเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ศึกษาดูจะพบว่าเซียนเหล่านั้นมักมีนิสัย
เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันในหลายๆเรื่อง และต่อไปนี้คือนิสัยที่ผมคิดว่าเราควรศึกษา
และประยุกต์ใช้ ถ้าเราอยากจะเป็น “เซียน” บ้าง
เรื่องแรกก็คือ เซียนตัวจริงนั้น
เวลาลงทุน เรื่องที่คิดมากที่สุดกลับไม่ใช่ว่าจะทำกำไรได้มหาศาลแค่ไหน แต่เป็นว่า จะ
รักษาเงินต้นเอาไว้ได้อย่างไร และนี่ก็คือกฎข้อหนึ่งและข้อสองของ
วอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งบอกว่า หลักการลงทุนที่สำคัญที่สุดก็คือ
อย่าขาดทุน และอย่าขาดทุน
เรื่องที่สองก็คือ การลงทุนนั้น
เซียนแต่ละคนจะมีหลักปรัชญา หลักการ และวิธีการลงทุนที่ชัดเจนเป็นแบบฉบับของตนเอง
ไม่มีการมั่วหรือเป็น “มวยวัด” สิ่งต่างๆเหล่านั้นถูกพัฒนาและทดสอบมา
เป็นอย่างดีเป็นเวลายาวนาน และจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลับไปกลับมา
เรื่องที่สามก็คือ เซียนหุ้นนั้น
ไม่ชอบความเสี่ยงแต่ชอบความแน่นอน และความ “ได้เปรียบ” เวลาจะลงทุนอะไรมัก
จะคิดถึงโอกาสชนะว่ามีสูงกว่าโอกาสที่จะแพ้มากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสชนะมากกว่าแพ้
เพียงเล็กน้อย เขามักจะ “ไม่เล่น” เพราะฉะนั้น เราจะไม่เห็นคนเหล่านี้เล่นรูเล็ตหรือ
เข้าคาสิโนเพื่อการพนันซึ่งโอกาสชนะมี แค่ 30-40% ขณะที่โอกาสแพ้อยู่ที่ 60-70% แต่
การลงทุนที่โอกาสชนะสูงมากๆนั้นมีไม่มาก ดังนั้นเซียน
จึงมักไม่เล่นหรือลงทุนบ่อยนัก
เรื่องที่สี่ก็คือ เซียนนั้นลงทุน
ในสิ่งที่ตนเองรู้จักดี มีการวิเคราะห์และคิดเอง ไม่เชื่อคนอื่นโดยไม่ได้พิจารณาด้วยตน
เองอย่างลึกซึ้ง ในทางตรงกันข้าม เซียนจะไม่ลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่เข้าใจ หรือการลงทุน
นั้นไม่เข้าเงื่อนไขที่ตนเองกำหนด หรือตนเองไม่สบายใจที่จะลง ตัวอย่างเช่นหุ้นที่มีค่า PE
และ/หรือ PB สูงเกินไป หุ้นที่ผู้บริหารไม่น่าไว้วางใจ เป็นต้น แม้ว่าหุ้นเหล่านั้นอาจจะ
ทำกำไรให้ได้ง่ายและเร็วในบางสถานการณ์
นิสัยที่ห้าก็คือ เซียนส่วนใหญ่
จะไม่ “กระจายความเสี่ยง” โดยการกระจายการถือหุ้นมากเกินไป
เซียนมักจะมีหุ้นหลักตัวใหญ่ๆในพอร์ตซึ่งเป็นตัวที่จะกำหนดผลงานหรือความเป็นความ
ตายในการลงทุนเพียงไม่กี่ตัว แม้ว่าเขาจะมีหุ้นย่อยๆเป็น 10 หรือ 100 และแม้แต่ 1,000
ตัว อย่างพอร์ตของ ปีเตอร์ ลินช์ หุ้นตัวหลักๆเหล่านั้นก็คือหุ้น
ที่สร้างความแตกต่างและทำให้เซียนเป็นเซียนขึ้นมาได้
ข้อสรุปในเรื่องนี้ก็คือ การเป็นเซียนนั้น คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกหุ้นถูกทุกตัวหรือแม้จะ
เป็นส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ข้อสำคัญก็คือ ในหุ้น 10 ตัว คุณ
อาจจะเลือกถูกเพียง 3 ตัว แต่ถ้าหุ้น 3 ตัวนั้นเป็นหุ้นที่ทำกำไรมหาศาลก็เพียงพอแล้ว
สำหรับผลงานที่ดีเยี่ยม
นิสัยที่หกก็คือ เซียน
หุ้นตัวจริงนั้นมี “EQ” ของการลงทุนสูง ไม่ใคร่หวั่นไหวกับภาวะตลาดผันผวนหรือ
ข่าวต่างๆ ที่อาจจะดูรุนแรงแต่ผลกระทบจริงต่อการลงทุนมีน้อย นิสัยในกลุ่มนี้ที่ผม
เห็นว่ามีความสำคัญก็คือ เซียนหุ้นนั้นมักใจเย็น สามารถอดทนรอได้อย่าง “ไม่มี
เวลาจำกัด” ถ้ายังไม่เห็นโอกาส ขณะเดียวกัน ถ้าเห็นโอกาส “ลอยมา
ตรงหน้า” เซียนหุ้นสามารถตัดสินใจ และลงมือได้
ทันทีไม่มีการผัดวันประกันพรุ่ง หรือต้องไปศึกษาพินิจพิจารณายืดยาว ความรู้สึกของผม
ก็คือ เซียนหุ้นชั้นนำคงจะมีความคิดต่างๆอยู่ในใจที่พร้อมอยู่แล้ว เมื่อโอกาสเปิดก็คว้าได้
ทันที
พฤติกรรมที่เจ็ดของเซียนหุ้นก็คือยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว
ภาษาหุ้นและการลงทุนก็คือ สามารถ “Cut Loss”
ได้ทันทีเมื่อเห็นว่าหลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่ไม่เป็นไปตามที่คาด หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำ
ให้เหตุผลในการซื้อหมดไป พูดง่ายๆ เซียนหุ้นมักไม่ยอม “ติดหุ้น” อย่างนักลงทุน
ประเภท “แมงเม่า” ซึ่งไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดโดยการขายหุ้นที่ขาดทุนมาก
ทิ้งได้
ข้อแปดที่ผมเลือกมาก็คือ
เซียนหุ้นนั้น เวลาลงทุนแต่ละครั้งจะต้องมี “Story” หรือเรื่องราว หรือเหตุผลหลัก
ว่าทำไมจึงลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้น ซึ่งไม่ใช่เพราะคิดว่าราคาหุ้นจะขึ้น แต่จะต้อง
เป็นเรื่องอื่นๆที่เมื่อเกิดขึ้นจะส่งผลต่อราคาหุ้นในที่สุด เรื่องราวอาจเป็นได้ทั้งเรื่องระยะสั้น
หรือระยะยาว อาจเป็นได้ทั้งเรื่องของตัวธุรกิจเอง หรือเรื่องภายนอกที่จะส่งผลอย่างสำคัญ
ต่อตัวธุรกิจและราคาหลักทรัพย์ในที่สุด
นิสัยที่เก้าก็คือ เซียน
หุ้นนั้นมักจะเป็นคนบ้าหุ้น หายใจเข้าออกเป็นเรื่องของการลงทุน ทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่
ของตนมักจะอยู่ในหลักทรัพย์ การลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ แต่ไม่ใช่คนที่เฝ้ากระดานหุ้น
ติดตามราคาหุ้นทุกนาที เพราะเซียนหุ้นตัวจริงนั้นไม่จำเป็นและมักไม่สนใจการเคลื่อน
ไหวของราคาหุ้น ในระยะสั้น เซียนหุ้นชอบศึกษาและติดตามความเป็นไปของกิจการ
ภาวะแวดล้อม และประเด็นอื่นๆที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มากกว่า
สุดท้ายก็คือ นิสัยส่วนตัวของ
เซียนการลงทุน ที่ดูแล้วก็น่าแปลก ค่าที่ว่าเซียนหุ้นมักจะเป็นคนที่มีความมั่งคั่งมหาศาล
(ถ้าไม่มั่งคั่ง ใครจะเรียกว่าเป็นเซียน!) แต่ส่วนใหญ่แล้วกลับใช้ชีวิตธรรมดาแบบคนชั้น
กลางระดับสูงเล็กน้อย และไม่มีใครเลยที่ใช้ชีวิตความเป็นอยู่สูงกว่าระดับความมั่งคั่งของ
ตนเอง ทั้งที่ดูไปแล้ว เงินสำหรับเซียนนั้น หามาได้ง่ายและเร็ว แต่คนเหล่านั้นกลับไม่
ฟุ่มเฟือย ไม่ชอบใช้เงินในสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือใช้เงินไม่คุ้มค่า
นิสัยทั้ง 10 ข้อนี้ ไม่ได้หมายความว่าเซียนทุกคนต้องมี
เหมือนกันหมด เพียงแต่เป็นนิสัยที่เซียนหลายๆคนที่ผมศึกษามี และผมคิดว่านิสัยหลายๆ
ข้อมีส่วนสำคัญในการสร้างความสำเร็จในการลงทุนให้แก่เขา และผมเชื่อว่า ถ้า Value
Investor นำเอาไปใช้และทำให้เป็นนิสัย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการลง
ทุนคงจะมีสูงขึ้น
*************************
นิสัยเซียน
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor
22 ตุลาคม 2547
ที่มา http://www.sarut-%3cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Ehomesite.net/2010/11/%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8B%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%94%E0%B8%A3-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%AB/%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E
ผมว่าจุดเริ่มต้นของคนเราเริ่มจาก"ทัศนคติ"จากสิ่งนั้นๆก่อน มันจึงจะเกิดแรงบรรดาลใจให้ไปถึงเป้าหมาย ถ้า"ทัศนคติ"คุณผิด มันก็จะผิดเกือบทั้งหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น